ตอนนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตสำหรับชาวไทยหลายๆ คนที่ต้องตกงานหรือไม่มีงานทำจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 ทางรัฐบาลได้มีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชาวไทยทุกท่านด้วยการทำการยื่นทบทวนสิทธิ์รับเยียวยา คนละ 5,000 บาท
"การยื่นทบทวนสิทธิ์" คือ การลงทะเบียนขออุทธรณ์ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์จากการ ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกัน รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
สำหรับขั้นตอนและวิธีการกรอกข้อมูลเพื่อ ยื่นทบทวนสิทธิ์ ผ่านเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน เพื่อขอรับเงินเยียวยา โควิด-19 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมขั้นตอนการทำอย่างละเอียดมาให้แล้วที่นี่ คลิกเข้าหน้าเว็บได้เลยที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
-
เลือกกดที่เมนู "ยื่นทบทวนสิทธิ์"
พอเข้าไปในเว็บไซต์แล้ว บนหน้าเว็บจะเห็นเมนูที่เพิ่มเข้ามาคือ เมนู "ยื่นทบทวนสิทธิ์" (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ แต่ต้องการยื่นทบทวนสิทธิ์เท่านั้น) ที่กล่องข้อความแถวแรกช่องที่สาม (ช่องสีม่วง) คลิกเข้าไปเลย
-
ใส่ข้อมูลส่วนตัว
จากนั้นจะเข้าสู่เว็บในหน้าที่สอง จะมีช่องให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ได้แก่ หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก, หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน, วันเดือนปีเกิด ใส่ครบถ้วนเสร็จแล้วให้คลิกแถบสีม่วงด้านล่างที่นะบุว่า "ยื่นทบทวนสิทธิ์ (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ แต่ต้องการยื่นทบทวนสิทธิ์เท่านั้น)"
-
ให้ความยินยอมทบทวนสิทธิ์
จากนั้นจะเข้าสู่เว็บในหน้าที่สาม เป็นรายละเอียดให้คุณอ่านเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ของการ ยื่นทบทวนสิทธิ อ่านคร่าวๆ ให้เข้าใจ แล้วจึงกดคลิกถูกในช่องเล็กๆ หน้าข้อความว่า "ข้าพเจ้าอนุญาตให้กระทรวงการคลังเก็บ รวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลัง เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาทบทวนสิทธิ์" จากนั้นกดยืนยันและดำเนินการต่อที่แถบสีม่วงด้านล่างอีกครั้ง
-
มีกล่องข้อความให้กดตกลงอีกครั้ง
จากนั้นจะมีกล่องข้อความเล็กๆ เด้งขึ้นมา ถามว่า "ท่านสามารถยื่นทบทวนสิทธิ์ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โปรดตรวจสอบข้อมูลที่ท่านกรอกก่อนยื่นทบทวนสิทธิ์" จากนั้นกด "ตกลง"
-
กรอกรายละเอียดของร้านค้าและที่อยู่
จากนั้นจะเข้าสู่หน้าถัดไป จะเป็นการให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า สถานประกอบการ และที่อยู่ของร้านค้านั้นๆ ที่คุณทำงานอยู่ ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 โดยมีช่องต่างๆ ที่ต้องกรอกข้อมูล ดังนี้
▇ ระบุอาชีพของท่าน
▇ ชื่อสถานประกอบการของท่าน
▇ เลือกสถานที่ที่เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อได้
▇ ข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ เช่น บ้านเลขที่ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ซอย ถนน ชื่อตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์
▇ เบอร์โทรศัพท์ที่เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อได้
จากนั้นกด "ยืนยันและดำเนินการต่อ" ที่แถบสีม่วงด้านล่างของหน้าเว็บ
ข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ, กรุงเทพธุรกิจ