มาลองทำความเข้าใจแบบง่าย ๆ กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็น สิ่งที่มนุษย์เงินเดือน และผู้มีรายได้ต้องทำความรู้จักและเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย นั่นก็คือ “การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” คือเงินที่เก็บจากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี โดยจะเรียกเก็บจากผู้มีรายได้ทุกประเภท

ทำไมต้องยื่นภาษี? ไม่ยื่นไม่ได้เหรอ?

การยื่นภาษีนั้นจำเป็นต้องทำ เพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย และถือเป็นการช่วยชาติอีกช่องทางหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมาย อาทิ 

  • ป้องกันการโดนตรวจสอบย้อนหลัง
    แม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่หากไม่ยอมไปยื่นภาษีก็อาจโดนตรวจสอบและถูกเรียกไปอธิบายที่สำนักงานสรรพากร
  • เพิ่มเครดิตในการทำธุรกรรม
    หากเราต้องการทำธุรกรรมหรือกู้เงิน แบบภาษี ภ.ง.ด.90/91 ถือเป็นเอกสารที่สำคัญมาก สามารถใช้แทนสลิปเงินเดือนได้
  • ช่วยพัฒนาประเทศชาติ
    เงินที่สรรพากรจัดเก็บนั้นจะถูกส่งไปเป็นงบประมาณการคลังสำหรับบริหารประเทศ


แล้วถ้าไม่ยื่นจะเกิดอะไรขึ้น?

ผิดกฎหมายทางอาญา ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้

  • กรณีไม่ยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90/91/94 ในเวลาที่กำหนด มีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จหรือแสดงหลักฐานเท็จ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท
  • กรณีตั้งใจไม่ยื่นภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ไม่สามารถได้รับเงินคืน ในกรณีที่บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินจำนวน

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นได้ที่ไหนบ้าง?

สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา : สามารถยื่น ภ.ง.ด.90/91 ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง

ธนาคารพาณิชย์ไทย : ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 มีนาคมเท่านั้น (กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด)

ที่ทำการไปรษณีย์ - ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 มีนาคมเท่านั้น : ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค(ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือธนาณัติ (ตามจำนวนภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน) โดยส่งไปตามที่อยู่ สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ซึ่งกรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จให้ทางไปรษณีย์

อินเตอร์เน็ต

ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rdserver.rd.go.th โดยชำระภาษีผ่านทางธนาคารหรือ e-payment หรือวิธีอื่น เช่น ATM, Internet banking. Tele-banking, mobile banking, counter service ของธนาคาร, Counter Service และจ่ายที่ไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านทาง Rd smart tax application

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ)
  • รายการลดหย่อยภาษีทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ บุตร หรืออุปการะคนพิการ
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เช่น เบี้ยประกันชีวิต ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ

วิธีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบออนไลน์

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rdserver.rd.go.th
  2. เลือกระหว่าง ภ.ง.ด 90/91 (ผู้ที่ไม่เคยลงทะเบียนต้องลงทะเบียนยื่นภาษีโดยกรอกข้อมูลส่วนตัว)
  3. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เข้าสู่หน้าแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากตรวจสอบแล้วข้อมูลถูกต้องครบถ้วนให้กดทำรายการต่อไป
  4. กรอกข้อมูลการยื่นแบบทั้ง 6 หน้า ได้แก่ หน้าหลัก เลือกเงินได้/ลดหย่อน บันทึกเงินได้ บันทึกลดหย่อน คำนวณภาษี ยืนยันการยื่นแบบ
  5. ตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกและกดคำนวณภาษีแล้ว
  6. กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ โปรแกรมจะแจ้งผลการรับและหมายเลขอ้างอิง พร้อมส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้
  7. กรณีมีภาษีต้องชำระ ชำระผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่ใช้และดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น

หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร

(1) ระบบจะแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัส ควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่อไป เพื่อความสะดวกและถูกต้อง โปรดสั่งพิมพ์หรือจดข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย
หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post ) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกัน

(2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก) ตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ แล้วกดยืนยันการจ่ายเงินและเลือกช่องทางทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกที่สุด

สามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เมื่อใด?

 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563

 

 

วิธีคำนวณภาษี

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

วิธีคำนวณจากเงินได้สุทธิ 0-35%

• เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
• เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% (หากคุณมีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว)

• เงินได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005 = ค่าภาษี

การที่จะคำนวณแบบเหมา 0.5% ต้องตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  • คำนวณจากรายได้ทุกทางยกเว้นเงินเดือน
  • คำนวณแล้วค่าภาษีต้องเกิน 5,000 บาท (ถ้าคำนวณแล้วได้ 5,000 บาทพอดีหรือต่ำกว่าจะไม่นำวิธีนี้มาใช้) แปลได้อีกทางคือต้องม
  • รายได้ทุกทาง (ยกเว้นเงินเดือน) รวมกันแล้วเกิน 1,000,000 บาท
  • คำนวณภาษีแบบเหมาแล้วได้มากกว่าคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

รายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563

• ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนบุคคล : 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส : 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตร : 30,000 บาท
ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร : ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 : 30,000 บาท
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา (ของตัวเองและคู่สมรส) : 30,000บาทต่อคน สูงสุด4คน
หมายเหตุ : บิดา-มารดาอายุ60ปีขึ้นไป, มีเงินไม่เกิน30,000บาท และลูกใช้สิทธิ์ได้คนเดียว
ค่าอุปการะผู้พิการ : 60,000 บาท (ต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการและมีเงินไม่เกิน 30,000 บาท)

• ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิต : จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง : จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท)
เบี้ยประกันชีวิตและบำนาญ : จำนวน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน : จำนวน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : จำนวน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) : จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท

*หากรวมเบี้ยประกันชีวิตและบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครู่โรงเรียนเอกชน, กองทุน RMF และ กอช. รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

• ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย : จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
โครงการบ้านหลักแรกปี 2558 : สูงสุดปีละ 120,000 บาท ไม่เกิน 5 ปี (2558-2562)
โครงการบ้านหลังแรกปี 2562 : สูงสุด 200,000 บาท หมายเหตุ ซื้อบ้าน-คอนโด ราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท, ต้องเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น, ถือครองกรรมสิทธิ์อย่างน้อย 5 ปี

• ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

บริจาคทั่วไป : ได้ตามจำนวนจริง
บริจาคให้สถานพยาบาลของรัฐ : ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนจริง
บริจาคสนับสนุนการศึกษา : ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนจริง
บริจาคสนับสนุนการกีฬา : ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนจริง
บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ : ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนจริง
บริจาคให้พรรคการเมือง : ไม่เกิน 10,000 บาท

• ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

ท่องเที่ยวไทย : ไม่เกิน 20,000 บาท
ซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา : ไม่เกิน 15,000 บาท
ซื้อสินค้า OTOP : ไม่เกิน 15,000 บาท

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซน์กรมสรรพากร, iTax

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life