ในสายตาคนทั่วไปมองว่า ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพรับจ้างอิสระ สบาย ได้ทำตามสิ่งที่ตัวเองชอบ ไม่สังกัดในหน่วยงานหรือบริษัทใด โดยฟรีแลนซ์จะรับงานโดยตรงจากนายจ้าง และส่งงานตามกำหนดเวลาที่นายจ้างกำหนดไว้ ดังนั้นฟรีแลนซ์จึงเป็นงานที่ต้องเป็นนายตัวเองและต้องควบคุมตัวเองให้ได้

จริงๆ แล้ว ฟรีแลนซ์ทำงานหนักมาก เพราะต้องเร่งกับตัวงานและเวลาที่ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอน ที่สำคัญยังต้องจัดการตัวเองให้เป็น แม้แต่เรื่องการยื่นภาษี หลายคนอาจคิดว่าฟรีแลนซ์ไม่ใช่งานที่ทำกับบริษัทจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการยื่นภาษีแต่อย่างใด 

แต่แท้จริงแล้วฟรีแลนซ์เองก็ต้องยื่นภาษีเหมือนกับพนักงานออฟฟิศทั่วไปเช่นกัน แตกต่างกันที่พนักงานออฟฟิศ การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของบริษัท โดยพนักงานจะทำหน้าที่ยื่นภาษีตามข้อมูลที่บริษัทแจ้งตามใบ 50 ทวิ บริษัทเป็นผู้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดให้สำหรับการยื่นภาษี ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส ค่าประกันสังคม หรืออื่นๆ

ส่วนฟรีแลนซ์ไม่มีระบบแบบนั้น เพราะต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ดังนั้นข้อมูลที่ต้องยื่นภาษี ฟรีแลนซ์จึงต้องเป็นคนจัดเตรียมเองทั้งหมด โดยการยื่นภาษีของคนทำงานฟรีแลนซ์ สามารถทำได้ ดังนี้

ภาษีของเราเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด?

เงินได้พึงประเมิน คือ เงินที่ได้รับมาถูกต้องตามกฎหมายแล้วต้องเอามาเสียภาษี ซึ่งเงินที่เราได้มาส่วนใหญ่ก็คือเงินได้พึงประเมินเกือบทั้งหมด เว้นแต่ว่ากฎหมายจะเขียนไว้ว่าเงินก้อนนั้นเป็น ‘เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี’ ที่จริงแล้วเงินได้พึงประเมินมีทั้งหมด 8 ประเภท แต่สำหรับฟรีแลนซ์นั้น จำเป็นต้องรู้จักเงินได้พึงประเมินหลัก ๆ อยู่ 3 ประเภทคือ

  • เงินได้ประเภทที่ 1 ม.40 (1) ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ
    (เงินได้ประเภทที่ 1 + เงินได้ประเภทที่ 2) x 50% = ค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

  • เงินได้ประเภทที่ 1 ม.40 (2) การประกอบอาชีพอิสระอย่างฟรีแลนซ์ 
    ค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น ค่าตอบแทนของเซลล์แมน ตัวแทนประกันชีวิต นักธุรกิจขายตรง นักธุรกิจเครือข่าย และอาชีพอื่นที่เราไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือลูกน้อง  ค่าตอบแทนของพริตตี้ พิธีกร โมเดล หรืองานอีเว้นท์ต่างๆ รับงานรีวิวสินค้า หรือ Advertorial หรือ Sponsored post  ในโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram, Twitter, YouTube 

    ค่าคำปรึกษาของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพทั้ง 6 อาชีพนี้ ได้แก่ วิชาชีพแพทย์/พยาบาล ที่ปรึกษากฎหมาย วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี หรือนักประณีตศิลปกรรม (เงินได้ประเภทที่ 1 + เงินได้ประเภทที่ 2) x 50% = ค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

  • เงินได้ประเภทที่ 1 ม.40 (7) ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ โดยที่เราเป็นทั้งผู้จัดหาทั้งแรงงาน เครื่องมือ และสัมภาระเอง หรือรับผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการโดยที่ปกติคุณไม่ได้ทำขายเป็นปกติทั่วไป เช่น ผลิตตามต้นแบบของลูกค้าซึ่งไม่มีอยู่ในแคตาล็อกสินค้าของคุณ

    ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ x 60% = ค่าใช้จ่ายของค่ารับเหมา หรือเลือกหักตามจริง

หมายเหตุ ถ้ายังไม่แน่ใจว่ารายได้ของเราจัดเป็นภาษีเงินได้ประเภทไหน สามารถดูได้จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้ว่าจ้างทำการออกให้ โดยในหนังสือจะระบุไว้ว่าเป็นรายได้ประเภทไหน หรือถ้าใครยังไม่แน่ใจจริง ๆ ก็สามารถไปสอบถามโดยตรงกับทางกรมสรรพากรได้เลย

ยื่นภาษี ฉบับชาวฟรีแลนซ์ ทำได้ 3 วิธี 

คงสงสัยกันใช่ไหมว่า การยื่นภาษีของคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ ทำวิธีไหนได้บ้าง มาทางนี้เลยเดี๋ยวแนะนำให้ จะว่าไปการยื่นภาษีของคนทำงานส่วนนี้ สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ 

  • ยื่นภาษีกระดาษกับกรมสรรพากร
    ปริ้นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 จาก http://www.rd.go.th ออกมาเพื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ให้ถูกต้อง
    กรอกข้อมูลในช่องต่างๆ ให้ครบถ้วน ถ้าใบเสร็จตัวไหนเหมือนกัน ให้คำนวณราคาทั้งหมดแล้วเติมลงไปในช่องเดียวกัน เช่น ค่าลดหย่อนช้อปช่วยชาติ มีใบเสร็จ 2 ใบ ให้ใส่จำนวนของทั้งสองใบรวมกันไปในช่องเดียวกัน
    ตรวจสอบความถูกต้องให้ถี่ถ้วนแล้วนำไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้บ้าน

    หมายเหตุ *หากมีภาษีตัวไหนที่ต้องจ่ายเพิ่ม สามารถจ่ายได้ที่สำนักงานสรรพากรได้เลย

  • ยื่นภาษีออนไลน์ทางเว็บไซด์

    เข้าสู่ระบบของเว็บไซด์กรมสรรพากร https://epit.rd.go.th/publish/index.php
    กรอกข้อมูลในช่องต่างๆ ให้ครบถ้วน ถ้าใบเสร็จตัวไหนเหมือนกัน ให้คำนวณราคาทั้งหมดแล้วเติมลงไปในช่องเดียวกัน เช่น ค่าลดหย่อนช้อปช่วยชาติ มีใบเสร็จ 2 ใบ ให้ใส่จำนวนของทั้งสองใบรวมกันไปในช่องเดียวกัน
    ตรวจสอบความถูกต้องให้ถี่ถ้วนแล้วกดยืนยันการยื่นแบบ

  • ยื่นภาษีที่ทำการไปรษณีย์ รูปแบบนี้สามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งการส่งทางนี้ต้องทำการแนบเช็ค หรือธนาณัติ (ตามจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย) โดยส่งไปที่...
    สำนักบริหารการคลังและรายได้
    กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร
    เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

ส่วนอัตราการเสียภาษีของฟรีแลนซ์ ก็ไม่ได้ต่างจาก อัตราการเสียภาษีของฟรีแลนซ์เงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ 

ไม่ว่าคุณจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ฟรีแลนซ์ก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันทุกคนและห้ามยื่นภาษีเลทเป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นอาจโดนตรวจสอบได้ โดยสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2563 หากยื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต จะสามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2563 ยิ่งยื่นเร็วเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งได้เงินคืนเร็วเท่านั้น

อ้างอิงจาก : iTax, กรมสรรพากร

 

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life