นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงการห้ามขายเหล้าในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า เหล้าเป็นปัจจัยนำไปสู่ความเสี่ยงในการชุมนุมคน ซึ่งประกาศเดิมงดขายถึงวันที่ 30 เม.ย.63 แต่เนื่องจาก ศบค. ออกข้อสั่งการให้มีผลต่อไป กระทรวงมหาดไทยจึงจะสั่งการให้สอดคล้องตามนั้น
ขณะที่แนวทางการดำเนินการผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ ต้องคำนึงถึงด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ด้านสังคม และเศรษฐกิจตามมา โดยจะมีการประเมินผลใน 14 วัน หากตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 คงที่ อาจจะเลื่อนลำดับในกิจกรรมที่ผ่อนคลายได้มากขึ้น แต่ถ้า 14 วันเพิ่มขึ้นอาจกลับมาตรึงในกิจกรรมและกิจการใหม่ทั้งหมด
ทั้งนี้ จะมีการยึดถือข้อกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ฉบับที่ 1 ข้อ 11 เช่น การทำความสะอาดพื้นผิวสถานที่ที่เกี่ยวข้อง การใส่หน้ากากผ้า-หน้ากาอนามัย การล้างมือ การรักษาระยะห่าง 1 เมตร มีแอปพลิเคชันติดตามตัว ส่วนการที่ประกาศระบุ ให้ยืดออกไป หมายถึง “เคยทำอย่างไร ให้ทำอย่างนั้นต่อไป ไม่ต้องมีการเว้นวรรค”
สำหรับ 6 กลุ่มกิจการและกิจกรรม ที่จะได้รับการผ่อนปรน และเริ่มเปิดดำเนินการได้ ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. ประกอบด้วย
- ตลาด ได้แก่ ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย
- ร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารทั่วไป ร้านเครื่องดื่ม ขนนหวาน ไฮศรีม (นอกห้าง) ร้านอาหารริมทาง รถเข็นและหาบเร่
- กิจการค้าปลีก-ส่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อบริเวณพื้นที่นั่ง-ยืนรับประทาน รถเร่ หรือ รถวิ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าปลีกขนาดย่อม-ร้ายค้าปลีกชุมชน ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม
- กีฬาสันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมในสวนสาธารณะ ได้แก่ เดิน,รำไทเก็ก สนามกีฬากลางแจ้งที่เป็นการออกกำลังกายโดยไม่ได้เล่นเป็นทีมและไม่มีการแข่งขัน ได้แก่ เทนนิส ยิงปืน ยิงธนู จักรยาน กอฟล์และสนามซ้อม
- ร้านตัดผม-เสริมสวย ได้แก่ ร้านตัดผมเฉพาะตัด สระ ไดร์ผม
- อื่น ๆ เช่น ร้านตัดขน ร้านรับเลี้ยงรับฝากสัตว์