งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข เป็นคำที่ใครๆ ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มันคือความสำคัญ และจำเป็นสำหรับปุถุชนทุกชนชั้น เพราะมันบ่งบอกถึงการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์บนโลกใบนี้ แม้คำว่า งานคือเงิน เงินคืองาน จะมีอายุมายาวนาน หลังแต่งไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่มันก็ยังมีความหมายกินใจอยู่ดี

‘งาน’ คือ การทำให้ทุกคนสร้างคุณค่าให้กับคน ในระหว่างที่ยังมีชีวิตและยังต้องสูดลมหายใจเข้าปอดอยู่ ส่วน ’เงิน’ คือผลจากการทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทำในสิ่งที่ตนถนัดและสร้างประโยชน์ให้สังคม ก่อนนำมาซึ่งรายได้ พาชีวิตและครอบครัวประสบความสำเร็จตามแนวทางวาดฝันไว้ของแต่ละคน

แม้บางครั้งจะมีคนมาบอกว่าเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุดบางครั้งก็ต้องใช้เงิน เงินจึงอยู่เบื้องหลังการบันดาลความเป็นไปทุกประการ

 เงินบาท

แน่นอนการได้มาซึ่งเงินนั้นไม่ใช่เรื่องเรื่องง่าย เหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก แต่มันก็ไม่ถึงกับยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา หากคนเรามีความมุมานะพยายาม เตรียมพร้อมตัวเองในทุกด้านให้ดี การสมัครงาน หาเงินมาสร้างชีวิต ในแบบฉบับของตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องต้องกังวลต่อไป

สมัครงาน จะว่ากันตามตรง ความหมายของมันคงไม่มีอะไรซับซ้อน ไปกว่าที่เราเข้าใจกันอยู่ เพราะหากให้คำนิยาม การสมัคร คงหมายถึง การที่มีคนๆ หนึ่ง นำความสามารถของตัวเองไปทำประโยชน์กับอีกคน ก่อนจะได้มาซึ่งค่าตอบแทนที่อีกฝ่ายให้มา ไม่ว่าการทำงานนั้นจะเจาะจงบุคคลต่อบุคคล หรือรวมไปนิติบุคคล ที่มีมากกว่าหนึ่งคนดูแลอยู่ก็ตาม

ตอนนี้รู้กันถึงความหมายของการ สมัครงานคืออะไร จากนี้ไปเราจะมาเตรียมตัวกันว่าขั้นตอน ก่อนการสมัครงาน ต้องเตรียมพร้อมกันอย่างไรบ้าง แม้ว่าการสมัครงานจะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่หากรู้ขั้นตอนการสมัครงานไว้ ก็เป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับตัวเราเองได้

ขั้นตอนการเตรียมการก่อนสมัครงาน

  1. สำรวจตัวเองว่าเหมาะสมกับงานประเภทไหน
  2. ศึกษาวัฒนธรรมองค์กร ที่อยากทำงานด้วย
  3. เขียนประวัติ แนะนำตัว (Resume) ให้โดนใจ HR
  4. แนะนำตัวเอง หรือให้ HR ขององค์กรรู้จัก
  5. มั่นใจแล้วส่งใบสมัครเลย

สำรวจตัวเองว่าเหมาะสมกับงานประเภทไหน

การสำรวจตัวเองถือว่าเป็นหัวใจความสำคัญลำดับต้น ๆ ของการสมัครงาน เพราะจะทำให้ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเราต้องการอะไร ชอบงานแบบไหน ที่ทำแล้วมีความสุข เพื่อจะได้กำหนดทิศทาง และวางแผน ไปสมัครงานกับองค์กรนั้นๆ ได้  อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้องค์กรรู้จักเรามากขึ้น

การสำรวจความถนัด และศักยภาพของตัวเอง มีด้วยกันหลายวิธี แต่ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

สัมภาษณ์งาน

  1. การประเมินตัวเองจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าทำอะไรสำเร็จ

    วิธีนี้ให้นำกระดาษเปล่ามา 1 แผ่น จากนั้นให้เขียนความสำเร็จที่ผ่านมา 1-10 ลงไป อันไหนชอบหรือทำแล้วมีความสุขมากที่สุด ให้ใส่ไว้อันดับต้น ๆ เพื่อจะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น พอได้ครบแล้ว ก็นำไปเทียบเคียงกับอาชีพที่มีอยู่ เพื่อล็อกเป้าไว้เป็นงานที่จะทำต่อไป

  2. ดูว่าเวลาว่างชอบทำอะไร

    นอกจากความสำเร็จจากการลงมือทำที่ผ่านมาแล้ว การสังเกตตัวเองจากงานอดิเรกก็ถือว่าสำคัญเช่นกัน เพราะบ่อยครั้ง ที่คนหันมาเอาดีในด้านงานอดิเรกจนสามารถก่อร่างสร้างตัว ไม่แพ้งานประจำ

    ซึ่งการสังเกตตัวเองในที่นี้ ทำได้ด้วยการดูว่าในช่วงวันว่างเราชอบทำอะไร หากชอบต้นไม้ ชอบเลี้ยงสัตว์ ก็เอาความถนัดเหล่านี้ไปต่อยอดเป็นอาชีพ หรือไปหาสมัครงานตามร้าน หรือองค์กรเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้

  3. ให้คนอื่นช่วยพิเคราะห์

    วิธีการนี้อาจได้คำตอบที่ขัดใจเราบ้าง แต่เชื่อเถอะการให้คนอื่นมาวิจารณ์ในตัวเรา อาจเป็นวิธีที่ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้นก็ได้ เพราะบางคนอาจเห็นตัวตนของเรามากกว่าที่เราเห็นตัวเองเป็น เพราะทุกคนล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

    ดังนั้น ถ้ามีคนอื่นเข้ามาวิจารณ์ก็จะทำให้รู้ว่าเราเหมาะสม หรือไม่เหมาะสมกับงานประเภทไหนจนสามารถทำให้คุณเลือกอาชีพหาสมัครงานที่เหมาะสมในอนาคตได้

  4. ทำแบบทดสอบสำรวจ

    แบบสำรวจจะว่าไปหากเราซื่อตรงมั่นคงกับตัวเอง ด้วยการกรอกข้อมูลในความเป็นตัวเราเข้าไปจริงๆ มันก็สามารถทำนายอาชีพในอนาคตของเราได้เช่นกัน บางที AI ก็มีความน่าเชื่อถือไม่น้อยกว่า Human

    การรู้จักตัวเอง นับเป็นแสงสว่างนำทางในการเลือกงานเลือกอาชีพ หากรู้ว่าตัวเองชอบอะไรแล้ว ก็จะทำให้งานนั้นไม่ใช่งานอีกต่อไป แต่มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในที่สุด ขณะเดียวกัน การรู้จักความสามารถ ทักษะ จุดเด่นของตัวเอง ยังช่วยในการตัดสินใจขององค์กร เลือกเราไปทำประโยชน์ได้มากขึ้นด้วย

ศึกษาองค์กร ที่จะเข้าทำงาน

การทำความรู้จักองค์กร นอกจากจะรู้ว่าเขาเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน และหน้าที่ที่เราไปจะไปทำมีความสำคัญอย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจตัวองค์กรมากขึ้นแล้ว ยังเป็นคาดการณ์ดูได้ว่า ตัวเองจะสามารถทำงานเหล่านั้นได้หรือไม่ และต้องเตรียมตัวอะไรเพิ่มเติม โดยวิธีนี้สามารถตรวจสอบจากเว็บไซต์ขององค์กร หรือช่องทางผ่านโซเชียลมีเดียขององค์กรนั้น ๆ  ซึ่งนี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนรอบคอบ และตั้งใจในการทำหน้าใหม่ที่รับผิดชอบในครั้งนี้

เขียนประวัติ แนะนำตัว (Resume)

เมื่อรู้ชัดจัดว่าใช่อาชีพที่ชอบ พร้อมรู้ลึกถึงวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่จะเข้าไปอยู่แล้ว ขั้นต่อไปลุยเขียนชื่อกรอกประวัติแนะนำตัว ให้องค์กรเป้าหมายได้ทำความรู้จักตัวเรามากขึ้น ผ่านชิ้นงานที่ชื่อว่า เรซูเม่

เรซูเม่ (Resume) คือ เอกสารที่เป็นข้อมูลของบุคคลเพื่อประกอบในการสมัครงาน โดยในรายละเอียดนั้นจะประกอบด้วย การศึกษา การค้นคว้าวิจัย ทักษะเฉพาะตัว ความสามารถพิเศษ รวมถึงประสบการณ์ในการทำงานหรือประสบการณ์ในด้านอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงตัวผู้สมัครมากที่สุด

เรซูเม่ เอกสารสำคัญแนะนำตัว

ซึ่งความสำคัญของเรซูเม่ แน่นอนต้องเป็นข้อมูลสำคัญของบุคคล และความสามารถเฉพาะทางของผู้สมัคร ที่ต้องตรงกับงานที่ประกาศรับ อีกทั้งยังมีส่วนที่บอกถึงบุคคลิกภาพของผู้สมัครด้วย เช่น การบริหารเวลา, การปรับตัว, การสื่อสาร, การทำงานร่วมกับผู้อื่น, การคิดและการตัดสินใจ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ในใบเรซูเม่ ก็เป็นส่วนสำคัญในการให้ผู้สมัครได้งานในครั้งนี้ด้วย

เรซุเม่ นอกจากข้อมูลสำคัญข้างต้นแล้ว ช่องทางติดต่อผู้สมัครอย่างเรา อาทิ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล บล็อก เว็บไซต์ หรือข้อมูลโซเชียลมีเดีย ก็ควรถูกต้องแม่นยำด้วย ไม่อย่างนั้นอาจเป็นการพลาดโอกาสที่ทำให้ไม่ได้ทำงานชิ้นนี้ได้ เพราะองค์กรหรือบริษัทที่เราสมัครไปไม่สามารถติดต่อให้มาสัมภาษณ์ได้นั่นเอง 

ทางที่ดีคือทางลาดยาง เอ้ยไม่ใช่ ทางที่ดีควรให้ เพื่อน, ญาติ คนใกล้ตัว หรืออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบเรซูเม่ก่อน เพื่อความถูกต้อง และได้รับคำแนะนำอื่นๆ ที่ตัวเราเองอาจมองไม่เห็น

ส่วนการเขียน เรซูเม่ ให้เข้าตา HR นั้น ควรแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ข้อมูลส่วนตัว และทักษะความสามารถ

ซึ่ง ข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลติดต่อกลับที่ต้องทำให้เด่นชัด ขณะที่ ทักษะความสามารถต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Hard Skill ทักษะที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง และ Soft Skill ทักษะเสริมเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการเข้าสังคม ที่จะช่วยให้การเลือกเราเข้าทำงานลื่นไหลมากขึ้น

พอแบ่งทักษะความสามารถได้แล้ว ก็ไปดูต่อว่า องค์กรที่เราอยากไปร่วมทำงานนั้น มีตำแหน่งที่เหมาะกับเราหรือไม่ หากมีก็ควรทำส่วนนี้ที่เด่นนั้นให้สะดุดตา เพื่อองค์กรจะได้เห็นและสนใจในตัวเรานั่นเอง

แนะนำตัวเอง ให้ HR ขององค์กรรู้จัก ความประทับใจนี้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

หลังเสร็จสิ้นการเตรียมเรซูเม่แล้ว ขั้นตอนถัดไปต่อจากนี้ เป็นการติดต่อไปยังองค์กร ที่เราสนใจไปร่วมงานด้วย เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดแจ้งว่า ตำแหน่งนั้นยังอยู่ หรือถูกปาดหน้าโดนงาบไปแล้ว

อีกทั้งยังเป็นการแนะนำตัวของเรา และยังแสดงถึงเจตจำนงที่แน่วแน่ว่า เราอยากร่วมงานด้วยจริง ๆ ซึ่งวิธีการนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

**การโทรศัพท์ไปสอบถามกับองค์กรณ์โดยตรง
**การเขียนจดหมาย ผ่านช่องทางอีเมล์ เพื่อขอสมัครงาน

ตรงนี้เองที่จะทำให้ตัวผู้สมัครและ HR ขององค์กรได้ทำความรู้จักกัน การเตรียมพร้อมขั้นตอนนี้จึงถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง 


วิธีการเขียนอีเมล์สมัครงาน 

การเขียนอีเมล์ให้ได้งาน  สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักกาลเทศะ ดังนั้นต้องเป็นไปในรูปแบบจดหมายที่เป็นทางการ ซึ่งการเขียนจดหมายสมัครงานให้เป็นทางการ ก็มีวิธีดังนี้ 

1.หัวจดหมาย -ต้องชัดเจนว่า จดหมายฉบับนี้จะส่งถึงใคร

ในที่นี้ก็หมายถึงหน่วยงาน HR ที่ทำหน้าดูแลบุคคลในองค์กร หากมีชื่อต้องระบุชื่อให้ชัดเจน HR คนนั้นให้ชัดเจน จากนั้นให้แจ้งชื่อเรื่อง หรือจุดประสงค์ของการสมัครงาน เช่น สมัครตำแหน่งอะไร -สิ่งที่แนบมาด้วย ว่ามีอะไรบ้าง อาทิ เรซูเม่, ผลงานที่ผ่านมา, หรือทักษะอื่นๆ ที่เคยได้รับการอบรม เป็นต้น 

2. เนื้อหาในจดหมาย

ส่วนเป็นการแนะนำตัวเราเองคร่าว ๆ และบอกจุดประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการสมัครงานในตำแหน่งอะไร และทำอะไรได้บ้าง มีทักษะใดที่เหมาะกับตำแหน่งนี้ จากนั้นให้บอกถึงทัศนคติ ที่มีองค์กร รวมถึงความคาดหวังหากได้เข้าทำงานด้วย

จิ๊กซอร์

เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้สมัครเข้าใจองค์กร และพร้อมที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกับบริษัท แต่ไม่ควรระบุในเนื้อหาว่าให้เห็นว่าเราเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป เช่น คำว่า ‘เชื่อว่าตัวเองเหมาะกับงานนี้’ เพราะไม่มีใครอยากได้ยินคำสัญญาตั้งแต่ที่ยังไม่ได้เริ่มงาน แต่ควรใส่ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับงานที่เราจะทำลงไป เพื่อสร้างความมั่นใจ และความนับถือในตัวเองไปในตัว

3.ส่วนลงท้าย

ส่วนนี้เป็นส่วนคำสัญของจดหมาย ต้องใส่คำว่า ด้วยความเคารพ และลงชื่อตัวเอง และบุคคลอ้างอิงต่อท้ายไปด้วย เพื่อทำให้จดหมายฉบับนี้มีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจดหมายฉบับต้องไม่มีคำผิดเด็ดขาด เพราะนั่นอาจแสดงให้เห็นความไม่รอบคอบได้ นอกจากนี้การตั้งอีเมล์ ควรใช้ชื่อจริง อย่าใช้ฉายา เพราะอาจส่งผลทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้  และจุดนี้เองที่จะทำให้ตัวผู้สมัครเป็นมืออาชีพ และทำให้เห็นว่า เรามีความสามารถตั้งแต่แรกเห็น


การคุยโทรศัพท์สอบถามการสมัครงาน 

การคุยทางโทรศัพท์เพื่อขอสมัครงาน ถือว่าน้อยครั้งที่ผู้สมัครจะโทรไปสมัครงานเอง ส่วนใหญ่จะเป็นทางบริษัทหรือองค์กรติดต่อกลับมาเพื่อเรียกให้ไปสัมภาษณ์งาน ดังนั้นการพูดคุยควรใช้นำเสียงที่สุภาพ และควรมีคำถามเพิ่มเติม ซึ่งคำถามนี้ต้องเป็นหลังจากที่เราสรุปการพูดคุยแล้ว และเป็นสิ่งที่คู่สนทนาหรือ HR ไม่ได้บอกมา

อย่าช้าอยู่ใย เมื่อพร้อมแล้วสมัครเลย

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การหางานจึงถือเป็นเรื่องง่าย สามารถเข้าอินเทอร์เน็ต กดค้นหางานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการส่องจากเว็บไซต์ขององค์กรที่เราสนใจ หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์หางานทั่วไป หรือที่เรียก การหางานออนไลน์นั่นเอง ซึ่ง Jobchiangrai ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการนั้น

ส่วนอีกวิธีก็คือ การเดินเท้าเข้าไปสมัครงานยังองค์กร หรือบริษัทที่เราสนใจ และ 2 วิธีนี้ มีข้อดีข้อเสียที่ไม่เหมือนและต่างกัน

สมัครงาน

การสมัครงานออนไลน์ ข้อดี คือการมาช่วยเติมเต็มให้สามารถหางานอยู่ในบ้าน ประหยัดเวลาและการเดินทาง แต่ข้อเสียก็มี คือประวัติของเราจะถูกลบกลบด้วยเรซูเม่อีกนับหลายร้อยหลายพันฉบับที่ถูกส่งมาในโลกออนไลน์

ส่วนการเดินเข้าไปสมัครงาน ข้อดีจะทำให้เห็นบรรยากาศสมัครงาน และเป็นจุดแรกเริ่มทำความรู้จักกับแผนก HR ของบริษัท หรือจับพลัดจับผลูอาจถูกเรียกสัมภาษณ์เลยก็ได้ แต่ข้อเสียก็อย่างว่าทำให้เสียทั้งเวลาและการเดินทางโดยใช่เหตุ 

สรุป . . 

การสมัครงาน นับเป็นด่านแรกของโอกาสในการได้ทำงาน ซึ่งจะได้รับพิจารณาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย แต่หากมีการเตรียมตัวดูพร้อมของตัวเองมาเป็นอย่างดี การได้งานทำก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป แถมยังเสริมสร้างความมั่นใจ และเติมเต็มประสบการณ์ชีวิตให้เรารู้จักตัวเองได้มากขึ้นด้วย . . . . เมื่อพร้อมแล้วก็กดสมัครงานกับทาง Jobschiangrai.com ได้เลย 

Author Image

Admin