10 สมุนไพรที่ควรมีไว้ประจำบ้าน
เมื่อได้เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วย สิ่งที่เรานึกถึงเป็นอย่างแรกเลยก็คือการรับประทานยาปฏิชีวนะที่มาจากการคิดค้นของแพทย์สมัยใหม่ แต่ใครจะหารู้ไหมว่าการแพทย์แผนไทยเองก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลรักษาตนเอง โดยทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้แนะนำสมุนไพร 10 ชนิดที่ใช้ช่วยรักษาโรคและบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ สามารถปลูกเองหรือหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป
-
กะเพราแดง
ใบและยอดกระเพราะใช้สำหรับลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ช่วยให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกสำหรับโรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน
-
ขิง
ใช้เหง้าของขิงในการรักษาอาการท้องอืด เฟ้อ เสียดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร รักษาอาการหวัด รักษาอาการปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน และรักษาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุไฟ ฆ่าพยาธิ ไม่ควรใช้ร่วมกับสารกันเลือดเย็นและยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เนื่องจากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าและทำให้เลือดหยุดไหลยาก
ขิงแห้งใช้แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้หอบ แก้ลม แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน
ขิงสดใช้แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ผายลมและเรอ แก้อาเจียน ช่วยให้เจริญอาหาร ขับน้ำดีช่วยย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดัน
-
ตะไคร้
ตะไคร้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
ตะไคร้แกง สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป มีสรรพคุณช่วยในการขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด แก้อาการเกร็ง ขับเหงื่อ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ทำให้เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต เหง้า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ไข้หวัด ขับประจำเดือน ขับระดูขาว ใช้ภายนอกทาแก้อาการปวดบวมตามข้อ ไม่ควรใช้ในคนที่เป็นต้อหิน เนื่องจาก citral จะทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น
ตะไคร้หอม มีลักษณะใบยาวกว่าตะไคร้แกง มีกลิ่นฉุนจัด ไม่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ ใช้เหง้ามาเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว ขับลมในลำไส้ แก้แน่น จุกเสียด แก้อาเจียน รากและเหง้าต้มกินแก้แผลในปาก แก้ปากแตกระแหง แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้ แก้อาเจียน แก้ริดสีดวงตา แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ นอกจากนี้ เหง้า ใบ และกาบ สามารถนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย หรือเครื่องหอมได้ เช่น สบู่ หรือพ่นทาผิวหนังกันยุงและแมลง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง ไม่เหมาะสำหรับคนที่กำลังท้อง เนื่องจากเหง้าของตะไคร้หอมมีฤทธิ์เป็นยาบีบมดลูก ทำให้แท้งบุตรได้ คนมีครรภ์ห้ามรับประทาน
-
ช้าพลู
ใช้บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกลงทางทวารหนัก ทำให้เสมหะแห้ง
ราก ผล และใบ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการปวดกระเพาะเนื่องจากความเย็นพร่องในธาตุ แก้ธาตุน้ำพิการ แก้ไอเย็น ขับเสมหะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้จับสั่น แก้ปวดฟัน ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ฟกช้ำ ใช้ภายนอก รักษาขาเน่าขาเปื่อย
ลำต้นมีรสชาติเผ็ดร้อน ช่วยในการขับเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้หวัด
-
ใบบัวบก
ใบบัวบกไม่เพียงแค่ดังในเรื่องการช่วยรักษาอาการแก้ช้ำใน แต่ยังช่วยในการรักษาโรคชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด โรคกระเพาะอาหาร รวมทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นยาบำรุงชั้นดีได้อีกด้วย เช่น ใช้ในการบำรุงสมอง ช่วยในเรื่องการเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงอายุ บำรุงประสาท เป็นต้น
นอกจากนี้การรับประทานใบบัวบกสดๆ ทำให้ร่างกายได้รับ ‘สารไกลโคไซด์’ (Glycosides) ช่วยเข้าไปขัดขวางการเกิดการสารอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย มีส่วนช่วยในการเร่งให้เกิดการสร้างคอลลาเจนที่ผิว กระดูก และเส้นเอ็น ช่วยให้แผลสมายตัวเข้าหากันได้เร็วยิ่งขึ้น ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานหรือมากเกินไป เนื่องจากใบบัวบกเป็นยาเย็น อาจเกิดการสะสมจนทำให้ร่างกายรู้สึกหนาวมากขึ้นได้
-
ฟ้าทะลายโจร
มีการใช้ส่วนเหนือดินเก็บก่อนที่จะมีดอก เพื่อรักษาไข้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ดับพิษร้อน ระงับอักเสบในอาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ขับเสมหะ ลดบวม แก้บิด แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ฝี การติดเชื้อ ที่ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย บิด ทำให้เจริญอาหาร แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อเปลี้ย มือเท้าช้าได้ เนื่องจากฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็น
-
มะกรูด
ผิวผลชั้นนอกของมะกรูดมีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับระดู เป็นยาบำรุงหัวใจ ผล ดองเป็นยาฟอกเลือดในสตรี ช่วยขับระดู ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ลักปิดลักเปิด น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยป้องกันรังแค และทำให้เส้นผมดกดำเป็นเงางาม ผล รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิตระดู ขับระดู ขับลมในลำไส้ ถอนพิษผิดสำแดง ตัวผลของมะกรูดใช้ถูฟอกสระผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม นิ่มสลวย แก้คัน แก้รังแค แก้ชันนะตุ
ใบของมะกรูดช่วยรักษาอาการไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสียฟอกโลหิตระดู ขับระดู ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ดับกลิ่นคาวของอาหาร
-
มะระขี้นก
รากและเถาของมะระขี้รก ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ลดเสมหะ แก้พิษ ถ่ายบิดเป็นเลือด ฝีบวมอักเสบ แก้ปวดฟัน ช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้โรคม้าม บำรุงน้ำดี
ใบของมะระขี้นก ใช้รักษาโรคกระเพาะ โรคบิด บรรเทาแผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ ทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาในการฟอกเลือด ช่วยให้หลับสบาย บรรเทาอาการปวดหัว ดับพิษร้อนในร่างกาย แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยขับระดู ขับลม แก้อาการฟกช้ำ
ผลของมะระขี้นก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงสายตา แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ช่วยบำรุงระดู ขับลม รักษาแผลบวมเป็นหนอง แก้อาการฟกช้ำ
อย่างไรก็ตาม มะระขี้นกไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้
-
ว่านหางจระเข้
วุ้นจากใบของว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการรักษาแผลน้ำร้อนลวก ผิวหนังอักเสบ บวม แมลงกัดต่อย ฝี แก้เส้นเลือดขอด ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนัง ลดหน้าท้องลาย ช่วยบำรุงเส้นผมให้เส้นผมสลวย ดกดำและเงางามมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดรังแคบนหนังศีรษะ บำรุงต่อมที่รากผม และรักษาแผลที่เกิดจากการเกาบนหนังศีรษะได้อีกด้วย
ยางจากใบและต้นของว่านหางจระเข้ ใช้ในการรักษาอาการท้องผูก
-
สะระแหน่
สะระแหน่มีฤทธิ์ในการขับเหงี่อ แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ พอกหรือทาแก้ปวดบวม ผื่นคัน ฆ่าเชื้อโรคแก้ปวดศรีษะ ดมแก้ลม ยาชงจากใบใช้ดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร ใบขยี้ทาภายนอกแก้พิษแมลงต่อย
สรุป
สมุนไพรถือเป็นอีกทางเลือกที่เราใช้ในการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพร่างกายของเรา เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ง่ายและปลูกขึ้นได้เอง อย่างไรก็ตามสมุนไพรนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเหมือนกับยาปฏิชีวนะเช่นกัน ดังนั้นเราควรทำการศึกษาให้ดีก่อนที่จะนำมาใช้
ข้อมูลจาก : MThai, Thaicrudedrung.com