ขณะนี้คนไทยกำลังเจอกับวิกฤตสุขภาพถึง 2 อย่าง นั่นก็คือฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งทั้งฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัสโคโรนา ล้วนปะปนอยู่ในอากาศที่เราสูดดมเข้าไป ทำให้เกิดเป็นพิษตอร่างกายจนนำไปสู้การเจ็บไข้ได้ป่วยได้ แต่เชื่อไหมการป้องกันสารพิษ และเชื้อโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถทำได้ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน ดังนั้นหน้ากากอนามัยจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนในปัจจุบัน
หน้ากากอนามัยอาจจะมีหลายชนิดหลากยี่ห้อในท้องตลาด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญหากอยากพ้นภัยห่างไกลโรคต้องรู้จักการใช้ให้ถูกวิธีด้วย เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และยังใส่หน้ากากอนามัยผิด ๆกันอยู่ ทำให้ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคที่มากับอากาศได้อย่างถูกต้องเท่าที่ควร ในวันนี้เราจะมานำเสนอวิธีการใส่หน้ากากอนามัยด้วยกันสองแบบที่พบเห็นและใช้กันอยู่บ่อยสุดในปัจจุบัน ดังนี้
หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป หรือ หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น
หน้ากากอนามัยประเภทนี้ เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกทั่วไป ราคาถูก เป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ค่อนข้างกระชับกับใบหน้า มักใช้ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านทางการไอหรือจาม แต่บริเวณด้านล่างไม่สามารถป้องกันการได้รับสารปนเปื้อนจากการสูดดมได้
วิธีการใส่หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป
- ล้างมือทำความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณมือ
- เลือกขนาดหน้ากากให้แหมาะสมกับผู้สวมใส่ หากเป็นของเด็กก็ควรเลือกขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป สามารถปิดปากและจมูกเด็กได้พอดี
- ใส่หน้ากากให้พอดีกับใบหน้า โดยให้ขอบที่มีรวดอยู่ด้านบนสันจมูกและรอยจีบพับคว่ำลง
- ให้เอาด้านที่มีสีเข้มหรือสีมันวาวออกไว้ด้านนอก ส่วนด้านสีอ่อนหรือสีขาวให้หันเข้าหาตัวเอง แล้วกดตรงขดลวดให้รัดกับจมูก
- ดึงหน้ากากอนามันให้ปิดบริเวณจมูก ปาก และคาง ก็ถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หน้ากากอนามัยแบบ N95
หน้ากากอนามัยแบบ N95 เป็นหน้ากากอนามัยชนิดที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป สามารถใช้ซ้ำได้ 2-3 วันแล้วทิ้ง หรือมีประเภทที่สามารถซักได้ ควรซักทุกวันหรือทุก ๆ 1-2 วัน เนื่องจากหน้ากากอนามัยประเภทนี้มีลักษณะเป็นหัวครอบ
สามารถปกปิดทั้งปากและจมูกได้อย่างมิดชิดไปจนถึงคาง ทำให้เชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนในอากาศไม่สามารถรอดผ่านเข้าไปได้ หน้ากากอนามัยชนิดนี้มักใช้กันในวงการการแพทย์ที่ต้องการความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสขั้นสูง เช่น การป้องกันการติดเชื้อวัณโรค หรือเชื้อแอนแทร็กซ์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตกับมนุษย์ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำงานที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงกับอากาศที่เป็นมลพิษสูงอย่างการทำงานกับสารเคมีหรืองานทาสีได้ด้วย
วิธีการใส่หน้ากากอนามัยแบบ N95
- ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ติดมากับมือ
- ถือหน้ากากไว้ในอุ้งมือ แล้วครอบหน้ากากบริเวณปากและจมูกให้พอดี
- ดึงสายรัดที่อยู่ด้านล่างคล้องศีรษะ ดึงลงไปบริเวณใต้ใบหู แล้วดึงสายรัดเส้นบนให้อยู่บริเวณด้านหลังศีรษะ
บีบเส้นลวดให้พอดีกับสันจมูก - เช็คหน้ากากให้พอดีกับปากและจมูก โดยใช้มือทั้งสองข้างทาบบริเวณหน้ากากแล้วลองหายใจ หากหน้ากากพอดีเมื่อเราหายใจเข้าไป หน้ากากจะยุบ และเมื่อเราหายใจออก หน้ากากก็จะพอง
หมายเหตุ : หากเรารู้สึกว่าหน้ากากอนามัยของเราเริ่มเปียกหรือโดนสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก ก็ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง อีกทั้งยังไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยร่วมกับผู้อื่น หลังจากใช้หน้ากากอนามัยเสร็จแล้ว ควรเก็บใส่ถุงให้มิดชิดก่อนนำไปทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโรค และล้างมือให้สะอาดหลังจากถอดหน้ากากออกเพื่อป้องกันการตกค้างของเชื้อโรค
วิธีการเก็บรักษาหน้ากาก N95
- ไม่หัก ไม่พับ ไม่งอหน้ากาก เพราะจะทำให้หน้ากากเสียรูปทรง และลดประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละออง
- ผิวของหน้ากากต้องเรียนอยู่เสมอ ไม่มีขอบคมและรอยเปื้อน สายรัดและแถบโลหะกระชับกับสันจมูก
- ควรเลือกหน้ากากแบบที่มีสายรัดสองสาย
- ควรเลือกขนาดหน้ากากเหมาะกับรูปหน้าของเรา ครอบได้กระชับจมูกและแนบกับใต้คาง
- ห้ามใช้หน้ากากร่วมกับผู้อื่น
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสวมหน้ากาก
วิธีการทิ้งหน้ากาก N95
หน้ากาก N95 จัดอยู่ในประเภทขยะทั่วไป แต่สามารถแพร่เชื้อโรคได้หากเราเป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด ดังนั้นก่อนที่จะนำไปทิ้ง ควรนำหน้ากากใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปทิ้งในขยะทั่วไป และล้างมือให้สะอาดหลังทิ้งทุกครั้ง
ข้อจำกัดของหน้ากากอนามัย
- แม้หน้ากากจะมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโรคได้ แต่มันก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% ส่วนใหญ่แล้วจะป้องกันได้ประมาณ 80-90% เท่านั้นโดยผู้ที่ใส่หน้ากากอนามัยก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคอยู่ดี
- ไม่สามารถป้องกันโรคได้ทุกชนิด โดยการใส่หน้ากากอนามัยนั้น ส่วนใหญ่จะป้องกันโรคที่สามารถติดต่อกันผ่านทางระบบทางเดินหายใจเท่านั้น เช่น การไอ การจาม เป็นต้น
- ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หน้ากากอนามัยเกือบทุกประเภทเป็นแบบที่ต้องใช้แล้วทิ้ง และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง เนื่องจากมีเชื้อโรคติดอยู่ที่หน้ากากอนามัยหลังการใช้ หากใช้ซ้ำก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคนั้นได้
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องสวมหน้ากากอนามัย
สำหรับผู้ที่ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อโรคไปให้ผู้อื่นหรือเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคจากผู้อื่น ได้แก่
- กลุ่มคนที่มีอาการป่วย เช่น การไอ การจาม มีน้ำมูก หรือผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งต้องออกไปนอกบ้านและใกล้ชิดกับผู้คนทั่วไป
- ผู้ที่ต้องออกไปในสถานที่สาธารณะและมีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดหรือถนนคนเดิน เป็นต้น
- ผู้ที่ต้องเสี่ยงเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคหรือสถานพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรงพยาบาล คลีนิก หรือสถานพยาบาลต่างๆ
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่แออัด เช่น ตลาดสด สนามบิน สถานีขนส่ง เป็นต้น
ข้อควรรู้วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค หากไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย
เข้าใจว่าการมีหน้ากากอนามัยก็ช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่หากจังหวะนั้นเราเกิดมีอาการไอ จาม ขึ้นมา แต่ไม่มีหน้ากากอนามัยอยู่ เราก็สามารถป้องกันการแพร่เชื้อโรคด้วยตัวเองได้ ดังนี้
- ก่อนจามควรปิดปากให้สนิท หากใช้มือปิดปาก ควรล้างมือก่อนสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ด้วย
- อาจปิดปากด้วยข้อศอกแทนการใช้มือ หรือใช้ทิชชู่ปิดแล้วพับทิชชู่ให้ดีก่อนทิ้ง
- ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบอาหารเข้าปาก รวมถึงก่อนรับประทานอาหารแม้ว่าจะใช้ช้อนส้อม
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก ระหว่างวันให้มากที่สุด
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคทำงานได้ดีตลอดเวลา
สรุป
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลภาวะและเชื้อโรค การสวมหน้ากากอนามัยนับเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ แต่ก็ควรให้หน้ากากอนามัยจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการสวมใส่อย่างถูกต้อง เปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ และทิ้งอย่างปลอดภัย แต่ที่สำคัญเราทุกคนควรจะให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย ทำสภาพร่างกายให้แข็งแรง และรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ทำความสะอาดของมือของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้ห่างไกลไม่ติดเชื้อโรคต่าง ๆได้ง่าย