วันที่ 24 มีนาคม เวลา 14.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปิดแถลงเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด และหนึ่งในประเด็นสำคัญก็คือการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยกระทรวงการคลังจะมีมาตรการดูแลเยียวยาประชาชนบางส่วนที่เริ่มตกงาน จึงได้มีมาตรการที่เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
มาตรการในการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า (COVID-19) หรือโควิด-19 ที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม และเมื่อไม่นานมานี้เอง สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการปิดสถานที่ต่างๆ โดย ครม.มีมติในการเยียวยา แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบ ประกันสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยมีมติสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน วิธีการขอรับความช่วยเหลือจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนดต่อไปเบื้องต้น คาดว่าจะเริ่มได้ในวันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
ขั้นตอนการขอรับเงินเยียวยาโควิด
- ลงทะเบียน ตรวจสอบคุณสมบัติ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com หรือยื่นคำร้องผ่านธนาคารของรัฐ ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทย,ธกส. อย่างไรก็ตาม ได้แนะนำให้ยื่นผ่านเว็บไซต์ เพื่อลดการพบปะคนอื่นยื่น
- เอกสารประกอบ บัตรประชาชน พร้อมเพย์ เอกสารนายจ้าง (ถ้ามี)
- ยื่นคำร้องเหตุผลที่ขอการช่วยเหลือ
- หลังจากยื่นเอกสาร ได้รับเงินภายหลังจากยื่นเอกสาร 5 วัน โดยนำเงินเข้า พร้อมเพย์ หรือโอนผ่านบัญชี
- กลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
1.เพิ่มสภาพคล่องให้เงินเดือนละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้ในส่วนสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน
2.มีสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน
3.สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน แต่ต้องมีหลักประกัน
4.โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย อัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน
5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็น ส.ค. 2563
6.เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็นเวลา 25,000 บาท
7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรการแพทย์
8.ฝึกอบรมมีเงินใช้ รวมทั้งนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
- ส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19
1.สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย3% 2 ปีแรก
2.ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ
4.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ
5.ยืดภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำมัน
6.ยกเว้นอากรขาเข้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด
7.ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้เจ้าหน้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.63-31 ธ.ค.64 เพื่อไม่ต้องไปยึดรถ
ข้อมูลจาก : ข่าวสด