คณะ อักษร-มนุษย์-ศิลปศาสตร์ จบมาทำงานอะไร ?? 

ยังจำความรู้สึกนี้ได้ไหม ในช่วงวัยเด็กที่คุณครูมักจะถามความฝันในอนาคตของเรา  โตมาอยากทำอาชีพอะไร อยากเป็นอะไรกันบ้าง ซึ่งทุกคนล้วนตอบไปแนวทางเดียวกัน เหมือนถูกวางไว้เป็นไดอะล็อกแบบเป๊ะ ๆ 

ทั้งชายในเครื่องแบบสุดภาคภูมิ อย่าง ทหาร ตำรวจ, หญิงสาวในชุดสีขาวสวยสง่า อย่าง นางพยาบาล ,หนุ่มใส่ชุดกราวด์ยาว คล้องสายตรวจไว้ที่คอ ที่เสียสละ ยอมอุทิศชีวิตตน ศึกษาร่ำเรียน นำวิชามารักษาผู้คนให้รอดพ้นจากอาการเจ็บป่วยอย่างคุณหมอ หรือหนุ่มอารมณ์ติสชอบขีดเขียน จนสเก็ตช์ภาพในจินตนาการให้กลายเป็นอาคารบ้านเรือน อย่างสถาปนิก 

แต่เผอิ๊ญ เผอิญในวันนั้น กลับมีเพื่อนคนหนึ่งโผล่งขึ้นกลางห้อง เอามือทาบอก เอ่ยปากบอกครูอย่างมั่นใจ เขาไม่สนอาชีพฮิตติดเทรนด์ข้างต้น แต่ขอลุยเดี่ยวเดินสาย มุ่งตามทางการใช้ทักษะสื่อสาร ทั้งการพูดและเขียนแทน 

จากคำตอบที่เกิดขึ้น คงมีน้อยคนนักที่ไม่เกิดความสงสัยใคร่อยากรู้ ถึงหลักสูตรการสอนช่วย ปั้นคนให้เดินตามฝันไปทำหน้าที่ที่ว่านี้ได้ 

แน่นอนการสื่อสาร คือหัวใจหลักของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม คนทุกคนจึงต้องมีทักษะนี้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

การมีความรู้ความสามารถในด้านการใช้ภาษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ในการสร้างการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด ความสุนทรีย์ ความสัมพันธ์อันดี แรงจูงใจ กฎกติกา และเอกลักษณะเฉพาะบุคคล อันเป็นที่มาของความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก

ภาษา คือ เสียง ท่าทาง และสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการรับรู้และมีความหมายไปในทางเดียวกัน ก่อนนำมาซึ่งผลประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของตน

มาถึงตรงนี้ ขอเวลาสัก 3 วินาที แล้วหลับตานึกภาพตามช้า ๆ  มองดูว่าหากรอบ ๆ ตัวเราไม่มี การสื่อสารพูดคุยกันอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ดูท่าแล้วโลกนี้คงแปลกพิลึก จนแทบอยากจะลืมตาขึ้นมาทันใด เพราะคงไม่มีทางที่เป็นไปได้ที่คนจะไม่สื่อสารกัน 

เข้าใจว่าการสื่อสารเป็นสกิลพิเศษที่มนุษย์ทุกคนต้องมี แต่การที่คนเราจะสื่อสารใช้ภาษาให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด จำต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ หากไม่ชำนาญพออาจเกิดความผิดพลาดกลายเป็นปัญหาขึ้นมาภายหลังได้

ภาษา และการสื่อสาร จึงถูกยกให้เป็นอีกหลักสูตรที่เกือบทุกสถาบันการศึกษาต้องบรรจุไว้ในการสอน ส่วนใหญ่จะมาในชื่อของคณะ อักษรศาสตร์, มนษย์ศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ซึ่งทั้งสามคณะเป็นคณะเดียวกัน  สอนศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการจรรโลงใจของมนุษย์ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจเทคนิควิธีการใช้ภาษา และช่องทางสื่อสารได้อย่างถูกต้องเช่นกัน

อักษรศาสตร์

ดูตามชื่อก็มีความหมายตามตัว คือการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร และภาษาต่างๆ ที่มีมากกว่า 5,000 ภาษา ตามความแตกต่างของประชากรบนโลกนี้  การเรียนศาสตร์นี้ใช่ว่าจะเรียนเฉพาะเรื่องอักษร หรือภาษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ความคิด ค่านิยมของเจ้าของภาษาที่ใช้ผ่านภาษานั้นๆ ด้วย ซึ่งในปัจจุบันภาษาที่คนใช้มากที่สุดคือ ภาษาจีน ตามมาด้วยภาษาอังกฤษ และภาษาฮินดี  

มุนษยศาสตร์ 

ศาสตร์นี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์โดยเฉพาะ เพื่อให้เข้าใจในศักยภาพด้านต่างๆ และความเป็นไปของเป็นมนุษย์ ทั้งภาษา การสื่อสารประวัติศาสตร์ สามารถขับเคลื่อนสังคมให้เดินไปข้างหน้าด้วยความสุขสงบ ป้องกันปัญหาความไม่รู้ที่อาจเกิดขึ้นในสังคม หากศาสตร์นี้ถูกทอดทิ้งไม่มีคนสานต่อ

ศิลปศาสตร์

หลังทำความรู้จัก อักษรศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ กันมาแล้ว จะปล่อยทิ้งไม่ใยดีศิลปศาสตร์นั้นก็คงดูจะใจร้ายไปหน่อย เพราะการจะส่ง เสริมเติมเต็มให้ทั้งสองศาสตร์สัมฤทธิ์ผลได้ ต้องพึ่งพิงศิลปศาสตร์เข้าช่วยด้วย

เคยไหม?? มีเพื่อนสองคน เดินเข้ามาเล่าเรื่องให้เราฟัง ซึ่งเรื่องที่เล่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความสนุกตื่นเต้น กลับไม่เหมือนกัน คนหนึ่งเล่าได้น่าติดตาม ผิดกับอีกคนยิ่งฟังยิ่งหมดความน่าสนใจ ซึ่งความแตกต่างนี้แหละ ถือเป็นนำศิลปะเฉพาะของแต่ละคน

คำว่าศิลปะ ตามนิยามของปราชญ์ชาวกรีกโบราณ อริสโตเติล (Aristotle) หมายถึง การเลียนแบบธรรมชาติ  ซึ่งไม่จำเพาะการเลียนแบบเหมือนกระจกเงา หรือภาพถ่าย แต่อาจเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจสอดแทรกอารมณ์ ของศิลปิน เข้าไปด้วยนั่นเอง 

ศิลปศาสตร์ จึงถือได้ว่า เป็นการผสมผสานศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ดนตรี การใช้หลักเหตุผล และภาษาเพื่อให้สามารถที่เรียนรู้ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นับเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ เพราะการดำเนินชีวิตในทุกวันล้วนต้องใช้การสื่อสารพูดคุยกันทั้งสิ้น แต่เชื่อหรือไม่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศาสตร์นี้กลับได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่น้อยลง จะเพราะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ มันก็นับว่าเป็นโอกาสดี ที่จะทำให้คนเรียนในสายนี้มีงานทำ ไม่ต้องกังวลใจในเรื่องตกงานอีกต่อไป 

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งของประเทศ ยังคงให้ความสำคัญและเปิดทำการสอนหลักสูตรสุดคลาสสิคนี้อยู่ ดังนี้

มหาวิทยาลัยภาครัฐ

  • คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะศิลปศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • คณะมนุษยศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

มหาวิทยาลัยเอกชน

  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • คณะศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นต้น การศึกษาความเป็นมนุษย์ นอกจากจะเป็นการเรียนเรื่องภาษา และการสื่อสารแล้ว ยังรวมไปถึง เรียนสื่อสารในเรื่องต่างที่สนใจแล้ว ยังได้เรียนเรื่อง อารยธรรม, วรรณคดี, วัฒนธรรม, สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้กระทั่งกระดูกมนุษย์ในสมัยโบราณ เพราะความเข้าใจภาษาของชนชาติใดชนชาติหนึ่งได้อย่างถ่องแท้ ต้องมีความเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมของชนชาตินั้นด้วย อาชีพที่รองรับในสาขาวิชานี้ แม้ไม่ชัดเจนเหมือนการเรียนสายอาชีพ อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ด้วยการเรียน ที่เน้นให้เข้าใจมนุษย์ ผนวกไปกับการเสริมทักษะทางด้านภาษา ทำให้สายงานของสาขานี้สามารถแตกยอดได้หลากหลาย และแต่ละอาชีพจัดอยู่ในระดับที่มีความสำคัญมาก อาทิ 
  • อาจารย์
  • นักวิชาการ
  • นักแปล
  • บรรณาธิการหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร
  • นักเขียน
  • ล่าม ไกด์นำเที่ยว
  • นักข่าว
  • นักจิตวิทยา
  • นักโบราณคดี/ประวัติศาสตร์
  • นักวิจารณ์
  • เลขานุการ
  • เจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรมนุษย์
  • นักประชาสัมพันธ์
  • นักการละคร
  • นักโฆษณา ฯลฯ หรือแม้กระทั่งงานสำคัญระดับประเทศอย่างนักการทูต หรือตัวแทนของประเทศในการไปทำหน้าสำคัญในองค์กรระดับโลกต่าง ๆ อย่าง องค์กรสหประชาชาติ หรือ UN

สรุป

คณะอักษรศาสตร์  มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์  เป็นการศึกษาความเป็นมนุษย์ในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้เข้าถึงจิตใจ และพฤติกรรม สายงานที่เกิดจากการศึกษานี้ จึงสามารถประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ  ได้อย่างเหมาะสมลงตัว แถมต่อยอดเกิดเป็นอาชีพใหม่ ในการพัฒนาและรักษาความเป็นมนุษย์ให้คงอยู่คู่กับโลกใบนี้ต่อไป

Author Image

Admin