อีกเพียงไม่กี่วันก็ใกล้จะถึงวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2563 หรือวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 ปัจจุบันได้มีเด็กไทยรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ตามกาลเวลา ร่วมถึงความคิดใหม่ๆ กระแสวัฒนธรรม หรือค่านิยมที่เกิดขึ้นกับเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและความสนใจในอนาคตของเด็ก
ในทุกปี บริษัทอเด็คโก้ จะมีการทำแบบสำรวจเกี่ยวกับ “อาชีพในฝันของเด็กไทย” ในปีนี้ก็เช่นกันที่ อเด็คโก้ ได้ทำการสำรวจดังกล่าวผ่านกลุ่มเด็กไทยอายุระหว่าง 7-14ปี จำนวน 4,050 ตัวอย่างจากทั่วทั้งประเทศไทย โดยพบว่า อาชีพที่เด็กไทยอยากเป็นอย่างทำมากที่สุดได้แก่ หมอ, ครู, ยูทูบเบอร์, นักกีฬา และสุดท้ายคือ ทหาร
1. หมอ
“แพทย์” ยังคงเป็นอาชีพยืนหนึ่งของเด็กไทย ที่ต้องทำอาชีพนี้ในอนาคตมากที่สุด ด้วยเพราะความที่คนส่วนใหญ่ต่างชื่นชมและยกย่องคนเป็นหมอว่า มีความทุ่มเทและเสียสละสูง ทำให้เด็กไทยหลาย ๆ คนใฝ่ฝันที่จะเป็นหมอ ถึงแม้รู้ทั้งรู้ว่าเส้นทางการเป็นหมอนั้นจะยากแค่ไหนก็ตาม
อยากเป็นหมอต้องทำอย่างไร
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อยากเป็น “หมอ” ก่อนอื่นต้องสอบเข้าเรียนใน คณะแพทยศาสตร์ ให้ได้ เพราะคณะนี้ที่มีการสอบเข้ารับนักศึกษาเข้าเรียนต่อโดยโปรแกรมพิเศษของตัวเองเรียกว่า “กสพท” ซึ่งถือว่าเป็นสนามสอบที่ใหญ่มาก ที่รวมคนทั่วประเทศมาแข่งขันกันในการเข้าเรียนแพทย์
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์
เด็กที่จะเข้าเรียนต่อเป็นหมอส่วนใหญ่จะต้องจบชั้นมัธยมสายวิทย์คณิต เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่จะใช้วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์เป็นหลัก หรือหากเรียนสายศิลป์ก็สามารถสมัครได้ แต่จะเสียเปรียบมากกว่า
มีผลคะแนน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมปลายที่ผ่านเกณฑ์ในการเข้ารับคัดเลือกในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
ต้องมีคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ ได้แก่
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) : 40%
- คณิตศาสตร์ 1 : 20%
- ภาษาอังกฤษ : 20%
- ภาษาไทย : 10%
- สังคมศึกษา : 10%
- คะแนนสอบวิชาความถนัดแพทย์ 30%
คะแนนสอบ O-NET ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคม รวมกันแล้วได้มากกว่า 60% หรือ 300 คะแนน อย่างไรก็ตาม คะแนนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เราได้สมัครด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับผ่านทางโครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบโควต้าของมหาวิทยาลัยที่มีการจัดสอบเองอย่าง MD02 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น
หมายเหตุ : ในการเรียนคณะแพทยศาสตร์นั้ นจะมีความพิเศษกว่าคณะอื่นอย่างหนึ่ง นั่นก็คือจะต้องเรียนทั้งหมด 6 ปี หลังจากเรียนจบ เราสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนต่อเฉพาะทางด้านไหน เช่น หัวใจ ศัลยกรรม กระดูก เป็นต้น
สถาบันที่เปิดสอน
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สำนักวิทยาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2.ครู
อันดับสอง เป็นอาชีพ ครู และอาชีพได้รับความนิยมไม่ต่างจากอาชีพแพทย์ หรือ หมอ เราจะสามารถสังเกตได้ว่า แพทย์ จะเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ หรือ ฝั่งปริมณฑล ในขณะที่อาชีพ ครู จะเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสังคมและค่านิยมของคนในแต่ละพื้นที่
การจะเป็นครูได้นั้น จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่จะสอนทั้งในแง่ของหลักการและทฤษฎี ต้องสามารถถ่ายทอดความรู้ที่เรามีไปให้ผู้อื่นได้ นอกจากนี้เรายังต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนในด้านพฤติกรรมอีกด้วย เพราะครูถือเป็นต้นแบบให้กับนักเรียนเวลาอยู่โรงเรียนเสมอ
นอกจากการสอนนักเรียนให้เข้าใจและทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว เราก็ต้องรู้วิธีในการประเมินนักเรียนของเราว่านักเรียนของเรามีความถนัดในด้านอะไร มีความสามารถหรือความสนใจในด้านไหน เพื่อที่เราจะสามารถแนะนำนักเรียนให้ไปในทางที่ถูกต้องอย่างถูกวิธี
สาขาวิชาที่มีการเปิดสอนในการเป็นครูก็คือคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ และในคณะก็จะมีการแบ่งสาขาย่อยออกไป เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้น คนที่มีความสนใจที่จะต่อคณะนี้ ไม่จำเป็นจะต้องจบสายใดเป็นพิเศษ สามารถสมัครได้ทั้งสายวิทย์คณิตและสายศิลป์
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าเรียนคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์
มีผลคะแนน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมปลายที่ผ่านเกณฑ์ในการเข้ารับคัดเลือกในมหาวิทยาลัยนั้นๆ
- คะแนนสอบ O-NET
- ต้องมีคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ ได้แก่
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
- คณิตศาสตร์ 1
- คณิตศาสตร์ 2
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา
ในกรณีของ 9 วิชาสามัญอาจจะมีการใช้คะแนนผลสอบที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่มหาวิทยาลัย อาจจะใช้เป็นบางวิชา ขึ้นอยู่กับสายเรียนที่จบมาหรือสาขาวิชาที่เลือกเรียนต่อ
หมายเหตุ: หลักสูตรนี้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทย มีการเปิดสอนในคณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์
3. “ยูทูปเบอร์”
นับว่าเป็นอาชีพใหม่มาแรงแซงทุกโค้งของอาชีพใหม่ที่ผุดขึ้นในปัจจุบัน เพราะอาชีพนี้เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ค่านิยมของเด็กยุคใหม่จึงเปลี่ยนไปตามยุค ตามความเจริญก้าวหน้า แถมฉีกกฎการทำงานแบบเดิม ๆ ทั้ง เป็นอาชีพที่ค่อนข้างมีอิสระ สบาย มีชื่อเสียง และรายได้สูงด้วยเวลาอันรวดเร็ว ไม่แปลกที่เด็กรุ่นใหม่จะสนใจจะทำงานด้านนี้ให้เป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
อยากเป็น “ยูทุปเบอร์” ต้องทำอะไรบ้าง?
ก่อนอื่นเราต้องทำความใจก่อนว่าอาชีพ “ยูทูปเบอร์” เป็นอาชีพที่เป็นกระแสดังมาก ไม่มีความตายตัวว่าต้องเรียนจบอะไรหรือมีความเชี่ยวชาญด้านอะไรถึงจะเป็นยูทูปเบอร์ได้ สิ่งที่สำคัญก็คือเราต้องดึงเอาความสามารถพิเศษและความถนัดของเราออกมาใช้ประโยชน์
นอกจากนี้ ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะเราจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เราพบเจอมาและนำมาประยุกต์ใช้ในสิ่งที่เราเป็น
เวลาที่เราอยากจะทำอาชีพอะไรก็มักจะมีคณะที่เราเปิดสอนวิชานั้น ๆ อยู่เสมอ แต่ยูทูปเบอร์ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะทั้งหมดนั้นล้วนมาจากประสบการณ์และความรู้ที่เรามี ดังนั้นก็ที่เราจะตัดสินใจเรียนอะไร เราควรค้นพบตัวเองให้เจอก่อน
ลองหาสิ่งที่ตัวเองชอบทำ ความสามารถพิเศษ หรือสิ่งที่ตัวเองถนัดมาเป็นจุดแข็งในการทำคอนเทนต์ แล้วลองมาคิดดูว่าเรื่องแบบนี้ควรจะทำคอนเทนต์แบบไหนให้ดูน่าสนใจ เช่น
หากเรามีความรู้และความสนใจในด้านคณิตศาสตร์ เราอาจจะเลือกเรียนสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมความรู้ของเราให้แน่นมากยิ่งขึ้น หรือหากมีความสนใจในด้านประวัติศาสตร์ก็อาจจะเลือกเรียนสาขาวิชาประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำให้คอนเทนต์ให้ใหม่ๆ ให้กับช่องของตัวเอง
การทำคอนเทนต์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสื่อสารสิ่งที่ตัวเองมีความรู้และเข้าใจส่งต่อไปให้ถึงผู้ชม หากนึกถึงสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการสื่อสารก็น่าจะเป็นคณะมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ หรือคณะนิเทศศาสตร์ที่จะมาช่วยเติมเต็มความสามารถในการติดต่อสื่อสารของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น
4. นักกีฬา
อาชีพนักกีฬาที่เด็กไทยในยุคนี้ใฝ่ฝันคงหนีไม่พ้นฟุตบอล เพราะปัจจุบันฟุตบอลไทยไปไกลถึงขั้นมีการแข่งขันระดับอาชีพในประเทศแล้ว แถมหากฝีเท้าดีก็ไต่เต้าไปเล่นยังต่างแดนได้ ซึ่งนอกจากฟุตบอล ก็มีกีฬาอื่น ๆ ที่สามารถทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ อาทิ แบดมินตัน รวมไปถึง กอล์ฟที่คนไทยเคยก้าวไปถึงมีหนึ่งของโลกมาแล้ว
นอกจากการมีรายได้จากอาชีพทางกีฬาแล้ว อาชีพนี้ยังทำให้ได้ออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และได้เดินทางรอบโลกไปด้วยในขณะเดียวกัน ซึ่งการเป็นนักกีฬานั้นจะต้องมีความรู้ทั้งในด้านร่างกายและความรู้ในด้านทฤษฎี คณะพลศึกษาหรือคณะวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาจะช่วยพัฒยนาศักยกรรมภายในการใช้ร่างกายของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น
อยากเป็นนักกีฬาอาชีพต้องทำอย่างไร
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเข้าเรียนคณะพลศึกษาหรือคณะวิทยาศาสตร์ทางการกีฬา คือ
- มีผลคะแนน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมปลายที่ผ่านเกณฑ์ในการเข้ารับคัดเลือกในมหาวิทยาลัยนั้นๆ
- คะแนนสอบ GAT/PAT
- คะแนนสอบ O-NET
- ต้องมีคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ ได้แก่
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
- คณิตศาสตร์ 1 หรือ คณิตศาสตร์ 2
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา
นอกจากการสอบทางด้านวิชาการแล้ว แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีการสอบพิเศษ เช่น การสอบวัดสมรรถภาพทางร่างกายอย่างการวิ่งหรือว่ายน้ำ อย่างไรก็ตามเกณฑ์ในการคัดเลือกจะขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด
การเรียนคณะพลศึกษาหรือคณะวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาไม่ได้จบออกไปเพื่อไปเป็นนักกีฬาเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถประกอบอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย เช่น โค้ชฝึกสอนกีฬา นักโภชนาการกีฬา เทรนเนอร์ฟิตเนส เป็นต้น
สถาบันที่เปิดสอน
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะสหเวชศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการพัฒนากีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สถาบันการพลศึกษา (ทั่วประเทศ)
- สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
5. ทหาร
ทหาร คือ อาชีพที่เด็กไทยู้สึกว่ามีเท่ และมีความมั่นคงในหน้าที่การงานสูง พออายุเยอะขึ้นก็มีสิทธิก้าวมาเป็นผู้นำประเทศมีอำนาจ และบทบาทในการบริหารบ้านเมืองได้ อาชีพ ทหาร จึงมักติดโผเป็นอาชีพในฝันของเด็กในแต่ละปี
อยากเป็น “ทหาร” ต้องทำอะไรบ้าง?
การเป็นทหารอาชีพต้องผ่านการสอบเข้าเป็นนักเรียนทหารของทุกเหล่าทัพ จะมีการเปิดรับสมัครเป็นประจำในทุกปี โดยแบ่งออกเป็นบุคคลพลเรือนและบุคคลที่ทำงานอยู่ในกรมหรือกองทัพของเหล่าทัพนั้นๆ จะมีการเปิดรับสมัครตั้งแต่ระดับชั้น ม.3 ม.6 ปวช. ปวส. และปริญญาตรี
การสอบข้าราชการทหาร มีดังนี้
- เรียนจบระดับชั้นม.ต้น ม.ปลาย หรือปริญญาตรี
- ช่วงเวลาในการเปิดรับสมัครในแต่ละปี
- สนามสอบบุคคลพลเรือน เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ (มกราคม)
- สนามสอบพยาบาลเหล่าทัพ (มกราคม-มีนาคม)
- สนามสอบนายสิบกองหนุนเหล่าแพทย์ (กุมภาพันธ์)
- สนามสอบนายสิบกองหนุน เหล่าการเงิน (มีนาคม)
- สนามสอบ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ฤษภาคม)
- สนามสอบบุคคลพลเรือน เข้ารับราชการในกองทัพเรือ (กรกฎาคม-สิงหาคม) เปิดรับครั้งเดียว
- สนามย่อยต่างๆ (ไม่แน่นอน) บางปีไม่เปิดสอบ
การสมัครเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายสิบทหารบก
-วุฒิการศึกษา สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายสามัญ สายอาชีพหรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
- เป็นชายโสด ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อยู่ในสมณะเพศก่อนสอบภาควิชาการ ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมไม่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือหนีราชการ
- มีสัญชาติไทย และบิดามารดาต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
- มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่มีรอยสักตามร่างกายไม่มีแผลเป็นที่ดูน่าเกลียด ไม่เป็นโรคตามที่ก าหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (ผนวก ก หน้า 12)
- ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกมาก่อน
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา และไม่เคยต้องค าพิพากษาโทษจ าคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท เว้นแต่มีกฎหมายล้างมลทินให้แก่ บรรดาผู้ต้องรับโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ
- ต้องว่ายน้ำได้ในระยะทางไม่น้อยกว่า 25 เมตร ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจโรค ทดสอบสมรรถภาพ ร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
- เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
- ไม่เป็นผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497ในปีที่สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
- ผู้ที่ขอผ่อนผัน ไม่เข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562) และผู้ที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการในปี2563 ไม่มีสิทธิ์สมัครสอบ
วิธีในการคัดเลือก
สอบข้อเขียน – เป็นการทดสอบเกี่ยวกับความรู้ทางด้านวิชาการ เนื้อหาที่ออกมักจะอยู่ในระดับมัธยมปลาย ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หลังจากที่ผ่านด่านการสอบข้อเขียน ก็จะมีการสอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย และทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
สรุป
ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดก็ตาม การจะประกอบอาชีพนั้น ๆ ย่อมเลือกมาจากความสามารถ ความถนัด และความสนใจของเราที่มีต่ออาชีพ นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว กระแสทางวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมก็เป็นสิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของเรา จะเห็นได้ว่าอาชีพ “ยูทูปเบอร์” เป็นอาชีพที่มาแรงมากในปีนี้
เนื่องจากเด็กไทยในยุคปัจจุบันหันมาสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและโซเชียลไลฟ์มากยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น โซเชียลออนไลน์ยังเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของเรามากกว่าเดิม เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านทางแชท Facebook หรือ Line การถ่ายรูปภาพหรือวิดีโอแล้วอัพโหลดลงใน Instagram เป็นต้น
ข้อมูลบางส่วนจาก Adecco Thailand
campus.campus-star.com