กฎหมายและการแพทย์

ใครที่ชื่นชอบหนังหรือนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน น่าจะรู้จักอาชีพ แพทย์นิติเวช กันเป็นอย่างดี เรียกได้ว่า เป็นอาชีพที่อยู่คู่กับตำรวจในหนังทุกเรื่องเลยก็ว่าได้ ที่ใดมีศพที่นั่นต้องมีแพทย์นิติเวชอยู่ด้วย โดยทั่วไปแล้วเราก็มักจะเข้าใจว่า แพทย์นิติเวชทำหน้าที่ในการชันสูตรศพ หรือตรวจสอบสาเหตุการตายของผู้ตายเพียงเท่านั้น แต่จะมีสักกี่คน ที่รู้ไปจนถึงขั้นตอน วิธีการทำงานของแพทย์นิติเวช หากใครที่ใจกล้าไม่กลัวศพ จะต้องไปศึกษาดูอาชีพนี้ที่ JobsChiangrai กันได้เลย

รู้จักอาชีพ ‘แพทย์นิติเวช’

ศพ

แพทย์นิติเวช หรือที่เราเรียกกันว่า ‘หมอชันสูตรศพ’ เป็นการรวมกันของคำสองคำ คือ คำว่า ‘นิติ’ ที่มาจากนิติศาสตร์ เรื่องที่ว่าด้วยกฎหมาย และ คำว่า ‘เวช’ ที่มาจากเวชศาสตร์ หมายถึงศาสตร์ทางการแพทย์ แล้วนำมารวมกันเป็นการประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์ที่ใช้นำมารวมกับการใช้กฎหมาย

เน้นการตรวจสอบร่างกายของศพ เพื่อพิสูจน์หาความจริงจากร่างกาย หลายคนอาจจะเคยได้ยินอีกชื่อที่คล้ายกัน คือ นิติวิทยาศาสตร์ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุและหลักฐานต่างๆ ไม่เกี่ยวข้องกับร่างกายของมนุษย์แต่อย่างใด

ตามหลักแล้วแพทย์นิติเวชจะทำการพิสูจน์ศพ เพื่อหาหลักฐานการตายของศพ เป็นเสมือนกับร่องรอยที่ฝากเอาไว้ก่อนตายว่า ผู้ตายได้เสียชีวิตด้วยสาเหตุใด บางครั้งก็เป็นการตายที่เกิดจากการฆาตรกรรม บางครั้งก็เป็นการตายที่ผิดรูปแบบธรรมชาติหรือเกิดจากโรคบางอย่าง แพทย์นิติเวชสามารถตรวจสอบได้ว่า ศพนี้ตายมานานกี่วัน กี่ชั่วโมงแล้ว เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายก่อนที่จะตาย และเสียชีวิตในรูปแบบใด

1 วันของแพทย์นิติเวช ทำอะไรบ้าง

แม้เราจะรู้กันหลักๆ อยู่แล้วว่า แพทย์นิติเวช ทำหน้าที่ในการชันสูตรศพ แต่กว่าจะทำได้นั้น ไม่ใช่ว่าอยากทำก็ทำได้เลย มีการทำงานคู่กับเจ้าหน้าที่หน่วยพิสูจน์หลักฐานของหน่วยงานรัฐฯ และต้องมีขั้นตอนต่างๆ กว่าจะได้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 1 วันของแพทย์นิติเวชจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องไปติดตามดูกัน

หมอชันสูตรศพ

  1. รับเรื่องเหตุคนเสียชีวิต ไปยังสถานที่ที่มีผู้เสียชีวิต เพื่อเก็บข้อมูลของผู้เสียชีวิตให้ได้มากที่สุด แล้วนำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลหลังจากทำการชันสูตรศพ โดยข้อมูลส่วนใหญ่ ก็จะเป็นเรื่องของเวลาและสถานที่ในการเสียชีวิต ค้นหาร่องรอยในการเสียชีวิต การสันนิษฐานสาเหตุเบื้องต้นในการตาย
  2. หากศพมีความผิดปกติ เช่น สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากยาเสพติด หรือการฆาตรกรรม จะมีการผ่าชันสูตรศพร่วมด้วย แต่หากมีหลักฐานในการยืนยันการตาย เช่น โรคประจำตัว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าพิสูจน์
  3. ในการผ่าตัด เพื่อดูว่าศพตายอย่างไร จะมีการผ่าดูอวัยวะไปทีละส่วนตามขั้นตอนทางนิติเวช และบันทึกข้อมูลต่างๆ เอาไว้
  4. ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากสถานที่เกิดเหตุและการผ่าชันสูตรศพ แล้วนำไปส่งให้กับทางตำรวจอีกที
  5. หากบางคดีจำเป็นต้องใช้แพทย์นิติเวช ก็จะต้องไปขึ้นศาลด้วย ซึ่งอาจกินเวลาหลายปี เนื่องจากงานของนิติเวชไม่ได้มีมาบ่อยมากนัก ทำให้บางทีก็ทำหน้าที่ไปช่วยงานแพทย์ทั่วไปบ้าง

คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นแพทย์นิติเวช

โครงกระดูก

  1. ไม่กลัวศพ ไม่กลัวเลือด สามารถจับและดูได้ เพราะต้องทำงานกับศพเป็นหลัก
  2. ชอบงานด้านวิทยาศาสตร์ ชอบอะไรที่แปลกใหม่ ชอบความท้าทาย
  3. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และเล่าเรื่องเป็นอย่างดี เพราะเมื่อผ่าพิสูจน์ศพแล้ว ก็ต้องเอาหลักฐานที่เราได้พบมาประกอบกันอีก
  4. เนื่องจากแพทย์นิติเวชต้องทำงานกับคนที่ตายไปแล้ว ไม่สามารถพูดคุยขอหลักฐาน หรือสอบถามสาเหตุการตายได้ คนที่จะทำงานนี้ จึงต้องมีนิสัยช่างสังเกต มีความละเอียดรอบคอบ สามารถสังเกตแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ ได้
  5. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน เพราะการสรุปรูปคดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานหลังจากการชันสูตรด้วย ถ้าพูดไปอีกแบบ รูปคดีก็อาจพลิกไปเป็นอีกแบบได้เลย

อยากเป็นแพทย์นิติเวช ต้องเรียนอะไรบ้าง

ผู้ที่ต้องการทำงานทางด้านสายการแพทย์ ต้องเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์คณิต เท่านั้น แล้วไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในคณะแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปี ใช้ทุนอีกประมาณ 1 – 3 ปี แล้วจึงเลือกเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางนิติเวชอีก 3 ปีได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้ในประเทศไทยมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ดังนี้

นักศึกษาแพทย์

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชวิทยา
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์

เงินเดือนแพทย์นิติเวช

ส่องกล้อง

สำหรับอาชีพแพทย์นิติเวช จะมีอยู่ในหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของภาครัฐเท่านั้น เพราะต้องทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งฐานเงินเดือน ก็จะมีการปรับไปตามระบบราชการเป็นหลัก รวมถึงระยะเวลาในการทำงานและผลงานด้วย เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 100,000 - 200,000 บาทต่อเดือน

เก็บหลักฐาน

สรุป

ใครที่ไม่กลัวศพ ไม่กลัวเลือด ต้องมาทำอาชีพ แพทย์นิติเวช ขอโฆษณาก่อนเลยว่า อาชีพนี้ได้ทำงานในภาครัฐและมีรายได้ที่ค่อนข้างดีมากเลยทีเดียว ต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ช่างสังเกต แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เป็นการทำงาน เพื่อพิสูจน์ว่าศพนั้นมีสาเหตุการตายมาจากอะไร เสียชีวิตในเวลาประมาณเท่าไหร่ นอกจากการผ่าเพื่อดูศพแล้ว ก็มีการใช้วิธีการเปิดดูศพตามอวัยวะต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์นิติเวชผู้ทำการชันสูตรศพ

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Legal Desire Media & Insights

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life