“พระธาตุ” สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวพุทธ เพราะสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ตามความเชื่อของชาวล้านนา เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล “อยู่เย็นเป็นสุข” หรือ ตามคติล้านนาที่ว่า “อยู่ดีกินหวาน” ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ที่ทั้งศักดิ์สิทธิ์และสวยงาม ในครั้งนี้เราจะคัดเอาพระธาตุทั้ง 9 จอมประจำเชียงรายมาให้ทุกท่านได้ชมกัน

 

เที่ยวสักการะพระธาตุทั้ง 9 จอมประจำเชียงราย

 

ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้านพบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง มีเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน

การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ ผ่านปากทางไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้าหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้ว

ความเชื่อ เชื่อกันว่าอุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้งหลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ

คำบูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว

อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย

ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

 

พระธาตุจอมทอง เป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย

การเดินทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือเขต 2 ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร 350 เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง

ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เชื่อกันว่า ถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะมีทรัพย์สินเงินทอง

คำบูชาพระธาตุจอมทอง

วันทามิ เจติยัง สัมพัฏฐาเนสุ ปติฏฐิตา สรีระธาตุ มหาโพธิง พุทธะรูปัง สกลังสทา

นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะตังเส พรัมมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป

สรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อรหันตาธาตุ โยเจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสีติ

ติสะหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ อหังวันทามิ ธาตุโย อหังวันทามิ

ทูระโต อหังวันทามิ สัพพะโส

 

ตั้งอยู่ที่วัดอรัญญวิเวกคีรี (จอมผ่อ) เดิมมีพระพุทธรูปทองเหลืองทองแดงองค์เล็กองค์ใหญ่จำนวนมาก เมื่อทางการได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุ ประกอบกับทางวัดไม่มีผู้ดูแลแน่นอน จึงได้เก็บเอาพระพุทธรูปที่เป็นโลหะชนิดต่างๆ ไปรวบรวมไว้จนหมดไม่เหลือแม้แต่องค์เดียว ในระหว่างการรื้อเจดีย์ ยังพบวัตถุมงคลอีกมากมายพร้อมแผ่นเงินจารึกประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์ที่จานด้วยเหล็กจานเป็นภาษาล้านนาด้วย

การเดินทาง จากตำบลจอมหมอกแก้วบนทางหลวงหมายเลข 1211 มาถึงทางแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 118 (ถนนเชียงราย – เชียงใหม่) มุ่งตรงสู่อำเภอเวียงป่าเป้า ผ่านสวนทิพย์วนารีสอรท์ สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า โรงเรียนอนุบาลสันสลีและวัดศรีสุพรรณเข้าซอยฝั่งตรงข้ามวัดประมาร 2 กิโลเมตร ถึงวัดอรัญวิเวกคีรีอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมฝ่อ รวมระยะการเดินทางทั้งสิ้น 65 กิโลเมตร

ความเชื่อ ผ่อ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ดูหรือมอง เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานเปรียบเหมือนการลืมตาเจอแสงสว่างในชีวิต

คำบูชาพระธาตุจอมผ่อ

อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง

วะระสัญญิตัง เอเตนะ มะมะ

ปุญเญนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

 

วัดพระธาตุจอมแจ้ง เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี

การเดินทาง จากเวียงป่าเป้า ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือทางหลวงหมายเลข 118 (ถนนเชียงใหม่ – เชียงราย) สู่อำเภอแม่สรวย ผ่านปากทางเข้าโรงงานเชียงรายไวน์เนอร์รี่ ศาลสมเด็จพระนเรศวร, โรงพยาบาลแม่สรวย ข้ามสะพานแม่น้ำลาว ตีนสะพานมีซอยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระธาตุจอมแจ้งอีก 200 เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 40 กิโลเมตร

ความเชื่อ เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง

คำบูชาพระธาตุจอมแจ้ง

อิมัสมิง อะรุนุธคะมะเน

ประภัตตะเคทิตัง ธาตุ เจติยัง

อะหังวันทามิ สะระสา อะหังวันทามิ สัพพะทา

 

ตั้งอยู่ที่วัดจอมจันทร์ เรื่องเกิดจากการที่พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลวเห็นนิมิตในคืนหนึ่ง เป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าบนดอยที่ตั้งขององค์พระธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนยอดดอยแห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์ โดยตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดพระธาตุจอมจันทร์ มีต่อมาได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฏิจนหมด คงเหลือไว้แต่พระเจดีย์และวิหาร ชาวบ้านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง อยู่ห่างจากวัดเดิม 300 เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่ โดยพระมหายงยุทธ เทวธัมโม พร้อมคณะศรัทธา

การเดินทาง ออกจากอำเภอเชียงแสนใช้ถนนสายเชียงราย-เชียงแสน (ทางหลวงหมายเลข 1016) มุ่งสู่อำเภอแม่จัน ผ่านอำเภอจันจว้า ตำบลจอมสวรรค์ และตำบลสันทราย ถึงปากทางเข้าอำเภอจอมจันทร์ รวมระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร

ความเชื่อ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานผิวพรรณสวยงามเปล่งปลั่งรัศมีดุจแสงจันทร์งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้

คำบูชาพระธาตุจอมจันทร์

อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง วะระสัญญิตัง

อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิธะปัพะเต

ปะติฏฐิตา เอตนะ มะมะปุญญานุพาเวนะ

สะทาโสตถี ภะวันตุเต

 

พระธาตุจอมสักเดิมชื่อ “พระธาตุดอยบ้านยาง” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช ได้มีพระเถระองค์หนึ่งชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำพระบรทสารีริกธาตุจากประเทศลังกามาถวายพระองค์จำนวน 16 องค์ ส่วนหนึ่งอยู่ที่พระธาตุดอยบ้านยาง

การเดินทาง จากอำเภอแม่จันใช้ถนนเชียงราย-แม่สาย (ทางหลวงหมายเลข 1) ลงใต้สู่อำเภอเมือง ผ่านตลาดบ้านดู่ ปากทางเข้าท่าอากาศยานเชียงราย ห้างสรรพสินค้าแมคโคร พบยูเทริ์นแรกเลี้ยวขวา เข้าปากทางเข้าพระธาตุจอมสักพอดีเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร รวมระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร

ความเชื่อ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้ท่านจะได้รับสิริมงคลสูงสุดและพานพบแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

คำบูชาพระธาตุจอมสัก

อะระหัง วันทามิ ธาตุโย

สัพพะฐาเนสุ สุปะฏิ ปะทิตา

อะระหังวันทามิ สัพพะโส

 

ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าพังคราช ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระเจ้าชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รวม 16 องค์ พระเจ้าพังคราชจึงทรงโปรดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ทรงโปรดให้นำพระโกศแก้ว พระโกศเงิน มารองรับพระบรมธาตุ พระราชทานให้พระเจ้าพรหมมหาราชนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติที่พระเจ้าสิงหนวัตนิ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกได้เคยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

การเดินทาง จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 ผ่านอำเภอพญาเม็งรายใช้ทางหลวงหมายเลข 1174 ผ่านปากทางเข้าน้ำตกตากควัน บ้ายไชยพัฒนา เข้าเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1098 ผ่านบ้านเนินสมบูรณ์ ปากทางแยกเข้าอำเภอเวียงชัย ปากทาง เข้ากิ่งอำเภอดอยหลวง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1271 มุ่งตรงสู่อำเภอเชียงแสน ผ่านวัดพระธาตุผาเงา เข้าถนน บายพาส เข้าถนนเชียงราย – เชียงแสนไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางเข้าพระธาตุจอมกิตติ ฝั่งซ้ายมือรวมระยะทางทั้งสิ้น 117 กิโลเมตร

ความเชื่อ เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะอุดมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ลาภยศผู้คนสรรเสริญ เจ้าคนนายคน

คำบูชาพระธาตุจอมกิตติ

อะหัง วันทามิ ปะระมะสารีริกกะธาตุโย

กะกุสันธัสสะ จะโกนาคะ นะมัสสะจะ

กัสสะธัสสะ จะสะมะนะโกตะมัสสะ เจวะ

นิพานนะ ปัจจะโย โหตุ

 

พระธาตุจอมจ้อ เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เชื่อกันว่าในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง มีพญานาคตนหนึ่ง รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆ แล้วจึงนำจ้อคำ 3 ผืนแล้วจ้อแก้วอีก 3 ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง จึงโปรดให้พญานาคแล้วนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลางดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ

การเดินทาง ออกจากอำเภอพานใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปทางใต้แยกพาน – ป่าแดด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1181 ผ่านสันมะเค็ด ป่าแงะ ถ้าผาจรุย จนถึงสามแยกเชียงเคี่ยน เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีเชียงราย – เทิง ผ่านยศรีดอนชัย ปล้อง เข้าสู่อำเภอเมืองผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเทิง โรงพยาบาลเทิง และวัดพระศรีมหาโพธิ์ ข้ามสะพานแม่น้ำอิงอีก 250 เมตร จะถึงปากทางเข้าพระธาตุจอมจ้อ ต้องขับรถขึ้นดอยอีกประมาณ 1,500 เมตร รวมราการเดินทางทั้งสิ้น 65 กิโลเมตร

ความเชื่อ คำว่า "จ้อ" เป็นคำล้านนา หมายความเทียบได้กับ "ช่อ" ในภาษาไทยกลาง "จอมจ้อ" จึงควรหมายความถึง ชูขึ้น หรือสูงเด่น เป็นสง่า สูงส่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่งความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ

คำบูชาพระธาตุจอมจ้อ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อะหัง วันทามิ ธาตุโย เกสาธาตุ มานะธาตุ

อิมัสสะหมิง ปติฏฏัง อุตะระ ปัพพัตตัง อะหัง วันทามิสิระสา (กล่าว 3 จบ)

 

พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้น “ดอยซางคำ” (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง ทรงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้

การเดินทาง จากอำเภอแม่สรวยใช้ทางหลวงหมายเลข 118 ย้อนกลับไปที่ทางแยกเชียงราย – แม่สรวย อำเภอแม่ลาวเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ถนน เชียงราย – พะเยา มุ่งสู่อำเภอพานข้ามสะพานข้ามแม่น้ำลาว ผ่านบ่อน้ำพุร้อนห้วยทรายขาว เข้าเขตอำเภอพาน เลี้ยวขวาเข้าถนนสายในตรงแยกวัดไชยมงคล เข้าไปประมาณ 300 เมตรจะพบทางเข้าพระธาตุจอมแว่ฝั่งขวามือ รวมรายการทั้งสิ้นประมาณ 49 กิโลเมตร

ความเชื่อ

- ความหมายนัยยะที่ 1 “แว่” เป็นภาษาเหนือ แปลว่า แวะถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง

- ความหมายนัยยะที่ 2 “แว่” เปรียบเหมือนเสียงเริ่มพูด เริ่มเจรจา ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ

คำบูชาพระธาตุ

อะหัง วันทามิ มหาชินะ เกศา ธาตุโย

พุทธรูปัง โคตมัง อะหัง วันทามิ

 

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life