นักบินชายกับนักบินหญิง

ถ้าพูดถึงหนึ่งในสัตว์ที่มีอิสระมากที่สุด นั่นก็คือ นก หากเป็นคน ก็ต้องนึกถึง อาชีพนักบิน เป็นอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน มีหลายคนที่ใฝ่ฝันอยากจะทำอาชีพนี้ เพราะสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มองดูท้องฟ้าที่สูงเหนือพื้นดินหลายกิโลเมตร ยูนิฟอร์มเท่ๆ พร้อมด้วยค่าตอบแทนที่ถือว่าดีใช้ได้เลยทีเดียว แล้วแบบนี้ ใครจะไม่อยากเป็นบ้างล่ะ ถ้าอยากรู้แล้วว่า อาชีพนี้มีอะไรดี ก็ต้องไปดูกันเลย

รู้จักอาชีพ ‘นักบิน’

นักบินควบคุมเครื่อง

อาชีพนักบิน มีหน้าที่หลักๆ ก็คือ การรับส่งผู้โดยสารโดยใช้เครื่องบินเป็นยานพาหนะ หรือ ทำการรับส่งสินค้าไปยังสถานที่ต่างๆ มีความพิเศษมากกว่างานประเภทอื่นๆ เพราะเป็นงานที่มีแรงกดดันค่อนข้างสูง ต้องรับความเสี่ยงทั้งเรื่องเวลา สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ อีกทั้งยังต้องรับผิดชอบผู้โดยสารภายในเครื่องบินอีกด้วย นักบินจะต้องมีทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นอย่างดี และ สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

สายงานของนักบิน

เฮลิคอปเตอร์

นักบินประจำสายการบิน

สายงานนี้จะเห็นได้บ่อยที่สุด นั่นก็คือ นักบิน ที่อยู่ประจำสายการบินต่างๆ ทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสาร นำสัมภาระมาให้ถึงตรงตามตารางเวลา มีกัปตันทำหน้าที่สั่งการส่วนใหญ่ คอยดูแลลูกเรือและรับผิดชอบการควบคุมเครื่องบิน ต้องมีความชำนาญเส้นทางเป็นอย่างมาก จะมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบตามคำสั่งของกัปตัน

สามารถเกษียณได้ตอนอายุ 65 ปี เพราะต้องใช้สมาธิและสติในการบินอย่างมาก บางทีก็ต้องบินในตอนกลางคืน หรือ บินมากกว่า 10 ชั่วโมง ทำให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้าและความเครียดได้ง่าย ที่สำคัญ ต้องคอยดูแลความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นักบินพาณิชย์

เป็นการทำงานที่ไม่มีตารางตายตัว แล้วแต่ผู้ว่าจ้าง ทำหน้าที่ในการขับเครื่องบินแบบเหมาลำ หรือ เครื่องบินทัวร์ทางอากาศ นักบินพาณิชย์มีหน้าที่ที่นอกเหนือจากการขับเครื่องบิน ตั้งแต่การวางแผนบิน การซ่อมบำรุงเรื่องบิน และ การโหลดกระเป๋าสัมภาระต่างๆ

นักขับเฮลิคอปเตอร์

สามารถทำงานให้ได้ทั้งหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชน เช่น กรมป่าไม้ สำนักข่าว เป็นต้น บ่อยครั้งที่เราได้เห็นว่า เวลาที่มีภัยพิบัติเกิดขึ้น จะมีการใช้เฮลิคอปเตอร์ในการขนส่งผู้บาดเจ็บ หรือ ขนของไปให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่เกิดเหตุ บางครั้งก็ใช้ในการทำข่าวและถ่ายภาพ เพื่อที่จะสามารถมองเห็นภาพจากมุมสูงอย่างชัดเจน

ลักษณะงานของนักบิน

แม้ว่าภาพรวมจะเป็นการควบคุมและขับเครื่องบิน แต่นักบินยังมีหน้าที่ย่อยมากกว่านั้น ดังต่อไปนี้

ควบคุมเครื่องบิน

  1. กำหนดตารางในการบิน เช่น เดือนนี้ไปที่ไหน เวลาใด วันใด
  2. ตรวจสอบสภาพเครื่องบินว่าพร้อมบินหรือไม่
  3. ติดต่อกับหน่วยงานควบคุมการบินทั้งในประเทศและนอกประเทศ
  4. ควบคุมเครื่องบินให้อยู่ในเส้นทางที่กำหนด
  5. ขับเครื่องบิน เพื่อรับส่งผู้โดยสาร หรือ สิ่งของที่มีการให้จัดส่ง
  6. รับผิดชอบการควบคุมเครื่องบินและลูกเรือ รวมถึงผู้ช่วยนักบินที่อยู่ใต้บังคับบัญชา

คุณสมบัติของนักบิน

นักบินเดี่ยว

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
  2. สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในการศึกษาและปฏิบัติจริง
  3. มีรูปร่างดี ส่วนสูง 165 เซนติเมตรขึ้นไป มีไหวพริบ ปฏิภาณ สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม
  4. มีความกล้าหาญ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  5. ช่างสังเกต รอบคอบ มั่นใจในตนเอง
  6. สายตาไม่สั้นเกินมาตรฐานที่กำหนด และ ไม่ตาบอดสี
  7. ผ่านการสอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสอบเชาวน์ปัญญา
  8. มีใบอนุญาตการบิน ( Pilot License) และต้องผ่านการตรวจร่างกาย และทดสอบทางจิตเวชจากสถาบันเวชศาสตร์การบิน

สถาบันที่เปิดสอนการบิน

ในช่วงมัธยมปลาย เรียนจบสายวิทย์คณิต หรือ ปวช. ปวส. ที่เกี่ยวข้อง แล้วไปเรียนต่อในปริญญาตรี ต่อไปนี้

บินบนท้องฟ้า

  1. สถาบันการบินพลเรือน Civil Aviation Training Center
  2. โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด
  3. วิทยาลัยการบินนานาชาติ (International Aviation College : IAC) มหาวิทยาลัยนครพนม
  4. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมการบิน Major MPL (Multi Crew Pilot License) และ Major CPL (Commercial Pilot License)
  5. สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต
  6. โรงเรียนการบินศรีราชา บริษัท ศรีราชาเอวิเอชั่น จำกัด หลักสูตรนักบินส่วนบุคคลPPL
  7. สถาบันการบิน Royal Sky Aviation Center
  8. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาบริหารกิจการการบิน
  9. โรงเรียนการบินกำแพงแสน ซึ่งจะผลิตเฉพาะนักบินที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายเรืออากาศเท่านั้น
  10. สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การบิน

หลังจากที่เรียนจบระดับปริญญาตรี ให้ไปทำการสอบ ‘ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License /CPL)’ ให้ผ่าน แล้วไปสอบตามสายการบินต่างๆ ที่รับนักบินแบบ Qualified pilot โดยจะมีการตรวจร่างกาย สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ รวมไปถึงการสอบ Aptitude Test

เงินเดือนนักบิน

สำหรับเงินเดือนของนักบินนั้น JobsChiangrai ถือว่าค่อนข้างสูงกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว แต่ก็เพราะมีความเสี่ยงและความกดดันมากกว่าอาชีพอื่นเช่นกัน โดยสามารถแบ่งเรทเงินเดือนได้ตามนี้

นักบินหน้าเครื่องบิน

  • Pilot trainee (ฝึกงานกับสายการบิน): 28,000 – 60,000 บาท
  • Co – Pilot (ผู้ช่วยนักบิน/นักบินที่ 2): 160,000 – 180,000 บาท
  • Senior Co – Pilot (ผู้ช่วยนักบินอาวุโส ประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป หรือ มีชั่วโมงการบินมากกว่า 1,500 ชั่วโมง): รายได้ 200,000 บาทขึ้นไป
  • Captain (กัปตัน/นักบินที่ 1 มีชั่วโมงบินไม่ต่ำกว่า 3,500 ชั่วโมงขึ้นไป): 300,000 – 400,000 บาท

นักบินชนันภรณ์

สรุป

อาชีพสุดเท่ที่หลายคนอยากเป็น ก็คือ อาชีพนักบิน เป็นอาชีพที่ดูเหมือนจะมีอิสระมากที่สุด เพราะสามารถบินไปบนท้องฟ้าได้ แต่ก็เป็นอาชีพที่มีความกดดันและมีความเสี่ยงสูงมากเช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงทำให้ได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ นอกจากการขับเครื่องบินแล้ว ก็ต้องทำการควบคุมเครื่องบิน ตรวจเช็คสภาพก่อนออกบิน และที่สำคัญ คนที่ทำอาชีพนี้ ต้องมีไหวพริบปฏิภาณสูง ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบทั้งชีวิตผู้โดยสารและสิ่งของภายในเครื่องมากมาย

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Aviation Voice

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life