เภสัชสองคน

นอกจากหมอที่ดูแลรักษาคนไข้แล้ว เราก็มี หมอยา หรือ เภสัชกร นั่นเอง ที่คอยดูแลเรา ด้วยการจ่ายยาที่เหมาะสมกับอาการให้กับเรา แต่หลายคนมักจะมองข้ามอาชีพนี้ไป ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว อาชีพนี้มีความสำคัญมากกว่าที่คิด เพราะหากเรากินยาผิด หรือ ได้รับยามาผิด ซึ่งเป็นยาที่ไม่เหมาะสมกับตัวเราเลย ก็อาจทำให้เราถึงแก่ชีวิตได้ หากใครที่อยากเป็นหมอยาแล้วล่ะก็ ต้องมาดูการแนะนำอาชีพ โดยแอดมิน JobsChiangrai ได้เลย

รู้จักอาชีพ ‘เภสัชกร’

อาชีพเภสัชกร

เภสัชกร เป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับยาในหลายๆ บริบท ไม่ว่าจะเป็นการผลิตยา การทำวิจัยเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ จัดจำหน่าย และอื่นๆ อีกมากมาย รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการใช้ยาด้วย ส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะเห็นเภสัชกรทำงานที่ช่องจ่ายยาตามโรงพยาบาลหรือไม่ก็เปิดร้านขายยา บางคนก็ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตยาที่โรงงานก็มี บางสายชอบการพบปะผู้คน ได้พูดคุย ก็ทำงานนำเสนอยาให้กับบริษัทขายยา

สายงานของเภสัชกร

วิจัยยา

  • เภสัชกรประจำโรงพยาบาล
    เป็นการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์คนอื่นๆ โดยต้องให้คำแนะนำในการใช้ยากับผู้ป่วย ตลอดจนการติดตามผลการใช้ยาของคนไทย ปกติแล้ว จะขึ้นตรงกับแพทย์ ที่เป็นผู้สั่งยา และเภสัชกรเป็นคนจ่ายยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่สามารถให้ยาคนไข้เองได้
  • เภสัชกรร้านขายยา
    อีกหนึ่งสายงานเภสัชกรที่เราเห็นบ่อยที่สุด นั่นก็คือ เภสัชกร ที่ประจำอยู่ที่ร้านยา คอยสอบถามคนไข้ที่เข้ามาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการซื้อยา แล้วจ่ายยาให้ตามความเหมาะสม ต้องมีใบอนุญาตร้านขายยาด้วย จะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารสุขมาเป็นคนตรวจ โดยผู้ที่เปิดร้านนั้น ต้องมีใบประกอบวิชาชีพด้วย
  • เภสัชกรงานวิจัย
    เน้นหนักไปในการทำวิจัยยาชนิดต่างๆ คอยเก็บข้อมูล ทดลอง และพยายามพัฒนางานวิจัยให้ตัวยานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยังไม่ค่อยพบในประเทศไทยเท่าไหร่นัก ส่วนมากจะอยู่ต่างประเทศ
  • เภสัชกรการตลาด
    ใครที่ชอบไปเจอผู้คนใหม่ๆ ได้พูด ได้ขาย เหมาะมากสำหรับเภสัชกรการตลาด เพราะต้องสามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชนิดยาที่เราจะเอาไปนำเสนอขายกับทางบริษัทยาให้ได้ เรียกได้ว่า เน้นไปทางการตลาดอย่างเต็มตัว
  • เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค
    ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ควบคุม ดูแล และรักษาความปลอดภัยของตัวยา ให้เป็นไปตามที่หน่วยงานอย. ได้ตั้งกฎเอาไว้ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอกลวง
  • เภสัชกรอุตสาหกรรม
    เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการผลิตยาให้ได้คุณภาพ และ ยังมีการวิจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวยาให้ใช้ได้ดีมากยิ่งขึ้น

ลักษณะงานของเภสัชกร

โดยปกติแล้ว เภสัชกรจะมีลักษณะงานที่แตกต่างออกไปกันตามสายงาน สามารถสรุปได้แบบคร่าวๆ ดังนี้

ให้คำปรึกษาคนไข้

  1. จ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ พร้อมให้คำแนะนำการใช้ยาและผลข้างเคียงของยากับคนไข้
  2. ทำการวิจัยตัวยาแต่ละชนิด แล้วพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
  3. ตรวจสอบคุณภาพของยาให้ได้คุณภาพ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค
  4. ให้คำปรึกษากับคนไข้ ก่อนที่จะทำการจ่ายยา
  5. ป้องกันความผิดพลาดในการใช้ยา เพื่อไม่ให้ถึงแก่ชีวิตของคนไข้

คุณสมบัติของเภสัชกร

จัดยาในโรงพยาบาล

  1. สนใจในเรื่องของเคมี ชีววิทยามากเป็นพิเศษ
  2. สามารถท่องจำข้อมูลเยอะๆ ได้
  3. มีใจรักในการบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  4. ใจเย็น มีความอดทน เพราะต้องให้ความรู้กับคนทั่วไป
  5. มีความละเอียดรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

คณะเภสัชศาสตร์

  • คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เงินเดือนเภสัชกร

สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรี สามารถตีค่าเงินเดือนเฉลี่ยได้ดังต่อไปนี้

ดูยา

สายงานโรงพยาบาล

  • เภสัชกรในโรงพยาบาล : 15,000 – 40,000 บาท
  • หัวหน้าหน่วย : 40,000 บาทขึ้นไป

สายงานการตลาด

  • ผู้แทนยา : 25,000 – 60,000 บาท
  • หัวหน้าหรือผู้จัดการ : 40,000 บาทขึ้นไป
  • ผู้บริหาร : 100,000 บาทขึ้นไป

สายงานร้านขายยา

  • เภสัชกรในร้านขายยา : 30,000 – 40,000 บาท

ยา

สรุป

ถ้าหากเรามีหมอที่ช่วยรักษาชีวิตคน แล้ว ‘ยา’ ที่ใช้รักษาคนมาจากไหน คำตอบก็คือ ‘เภสัชกร’ ผู้ที่ทำการคิดค้น ค้นคว้า ทำวิจัย พัฒนา ให้คำปรึกษาในการใช้ยา และหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับ เรียกได้ว่า เป็น หมอยา ก็ไม่ผิดเท่าไหร่ ใครที่ทำอาชีพนี้ ต้องมีความใส่ใจมากเป็นพิเศษ แม้ยาจะชนิดเดียวกัน อีกคนใช้ได้ผล แต่อีกคนใช้แล้วไม่ได้ผล เผลอๆ อาจถึงตายได้ ดังนั้น จึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมากเป็นพิเศษ และต้องมีความอดทนและใจเย็นสูง เพราะต้องให้คำปรึกษากับคนทั่วไป ที่ไม่มีความรู้เรื่องยาเลย

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ

 

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life