หมอจดบันทึก

หลังจากที่เราเรียนจบคณะแพทยศาสตร์แล้ว มีหลายคนที่กำลังตั้งคำถามกับตัวเองว่า ที่จริงแล้ว เราอยากเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านไหนกันแน่ ชอบอะไร ถนัดอะไร ซึ่งหลายคนก็ยังหาคำตอบไม่ได้ บางคนก็เลือกศึกษาแพทย์เฉพาะทางจากความถนัด ในขณะที่บางคนเลือกที่จะศึกษาตามสายที่มีคนนิยมเรียนมากที่สุด ซึ่งก็ตรงกับหัวข้อที่ JobsChiangrai จะเอามาพูดในวันนี้พอดี

5 อาชีพแพทย์เฉพาะทาง ยอดนิยม

กุมารเวชศาสตร์

กุมารแพทย์

กุมารแพทย์ หรือที่เรามักรู้จักหมอประเภทนี้ว่า ‘หมอเด็ก’ เพราะทำหน้าที่ในการรักษาเด็กทารก เด็ก และวัยรุ่น ส่วนใหญ่มักจะอายุไม่เกิน 14 – 18 ปีเท่านั้น หมอเฉพาะทางด้านนี้ต้องมีความอดทนที่สูงมากและใจเย็น มีความละเอียดอ่อนสูง เพราะเด็กเล็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่สามารถสื่อสารทุกอย่างตามที่ต้องการได้อย่างเข้าใจ รวมไปถึงการจ่ายยา ที่ต้องลดปริมาณลงมากกว่าผู้ใหญ่ ต้องปรับทั้งการรักษาและตัวยาให้เข้ากับร่างกายของเด็ก

โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กร้องไห้ หมอก็ต้องใจเย็น โกรธเด็กไม่ได้ เพราะบางครั้ง การที่เด็กร้องไห้ออกมานั้น ก็เพราะว่ากำลังรู้สึกเจ็บปวด แต่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดแบบผู้ใหญ่ได้นั้นเอง หมอต้องทำให้เด็กหยุดร้องก่อน หาทริคต่างๆ ทำให้เด็กยอมตรวจร่างกายหรือยอมรับการรักษา เพราะเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่

จิตเวชศาสตร์

จิตแพทย์

พูดง่ายๆ ก็คือ จิตแพทย์ นั้นเอง เป็นการรวมศาสตร์ของจิตใจและทางการแพทย์เข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากนักจิตวิทยาโดยสิ้นเชิง เพราะว่านักจิตวิทยา เน้นการศึกษาทางจิตใจเป็นหลัก แต่จิตแพทย์ เน้นการรักษาควบคู่กับการใช้ยาไปด้วย จิตแพทย์ เป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในรักษาความผิดปกติทางจิตใจ ให้ความช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบปัญหาทางจิต หรือ ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพและจิตใจ ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

โดยหลักๆ ก็คือ ต้องทำการสัมภาษณ์และตรวจสอบสภาพจิตใจของคนไข้ก่อน จึงจะสามารถประเมินและทำการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง แล้วหาวิธีการในการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้คนนั้น ในบางกรณี ก็ต้องมีการให้ยาในการรักษาตามแต่ละเคส ซึ่งไม่ได้เป็นแค่เรื่องของจิตใจเท่านั้น แต่การศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทก็มีความสำคัญเช่นกัน

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์

เป็นแพทย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสายงานทางกฎหมาย เพราะต้องเอาวิชาแพทย์ไปประยุกต์ใช้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม ทำหน้าที่ตรวจสอบ หาหลักฐาน และ สาเหตุการเสียชีวิตของคนในคดี มักทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยพิสูจน์หลักฐานของทางภาครัฐ แล้วส่งข้อมูลไปหาทางหน่วยงานกฎหมายเป็นผู้พิจารณา ที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ คดีอาชญากรรมต่างๆ เช่น คดีข่มขืน คดีทำร้ายร่างกาย คดีฆ่าปิดปาก เป็นต้น

ในส่วนของการทำงานนั้น ค่อนข้างแตกต่างจากแพทย์สายอื่นๆ เนื่องจากว่า ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา จะเป็นการทำงานตามเคสไป หากวันไหนเกิดคดีขึ้นมา นิติเวชก็ต้องเป็นผู้ไปเก็บร่องรอย โดยการตรวจอย่างละเอียด เช่น รอยแผลบริเวณข้อมือ ผิวหนังในเล็บมือ รอยมัดเชือกที่คอ หรือ ร่องรอยต่างๆ ที่ผู้ตายหรือผู้ต้องหาได้ทิ้งเอาไว้ ตอนมองครั้งแรก อาจคิดว่าเป็นการฆ่าตัวตาย แต่เมื่อนำไปพิสูจน์ทางการแพทย์ อาจได้ทำคำตอบอีกอย่างหนึ่ง

ศัลยศาสตร์

ศัลยแพทย์

เรียกได้ว่าเป็น แพทย์ที่ทำเงินได้เยอะที่สุด เลยก็ว่าได้ เพราะปัจจุบัน การศัลยกรรมใบหน้าและร่างกาย ได้รับความนิยมสูงจากคนทั่วไป หรือ อาจจะเป็นการศัลยกรรมบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุก็ได้เช่นกัน เป็นแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดในร่างกายผู้ป่วย เพื่อสืบหาสาเหตุของโรคหรือเพื่อรักษาความผิดปกติบางอย่าง บางคนมีอาการปวดท้อง อาจกังวลว่า ตัวเองเป็นไส้ติ่งอยู่ ดังนั้น จึงต้องทำการผ่าตัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรัง

สำหรับผู้ป่วยบางคนนั้น อาจต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การทำ CT แสกน เพื่อจะตรวจสอบได้ว่า โรคนั้น มีความร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน จะได้หาวิธีในการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงของคนไข้ให้น้อยลง ซึ่งการผ่าตัดต่างๆ นั้น ไม่ใช่ว่าอยากผ่า ก็ผ่าได้เลย แพทย์ต้องทำการตรวจคนไข้ให้แน่ใจก่อน จึงจะสามารถทำการผ่าตัดได้ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อให้น้อยที่สุด

สูตินารีเวช

สูตินารีเวช

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า สูตินารีเวช ทำหน้าที่การผ่าคลอดเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว เป็นการตรวจและรักษาโรคต่างๆ ของผู้หญิงโดยเฉพาะ ตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ การกินยาคุมกำเนิด การตรวจภายใน มะเร็ง เนื้องอก ซีส โรคติดเชื้อ ฮอร์โมนผิดปกติ เป็นต้น และหมอสาขานี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น ‘ผู้หญิง’ เท่านั้น แต่ผู้ชายก็สามารถทำได้เช่นกัน สามารถดูแลผู้หญิงได้ ตั้งแต่วัยรุ่น วัยสาว คนที่อยากมีบุตร จนไปถึงวัยชรา

ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นการเรียนร่วมกันของทั้ง 2 ศาสตร์ ก็คือ สูติศาสตร์ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดลูก และการดูแลเด็กทารกและผู้หญิง ส่วน นรีเวชศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ไม่ว่าจะเป็น มดลูก ช่องคลอด หรือ รังไข่ มักทำงานร่วมกับแพทย์สาขาอื่น เช่น ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ เป็นต้น

หูฟังทางการแพทย์

สรุป

ใครที่กำลังเรียนแพทย์อยู่ หรือ กำลังคิดจะต่อสายการแพทย์ ก็สามารถมาดู 5 อาชีพแพทย์เฉพาะทาง ได้ที่นี่เลย เพราะว่าหลังจากจบการเรียนแพทยศาสตร์ 6 ปีแล้ว หลายคนก็มักจะมีเป้าหมายในใจในการต่อยอดความรู้ที่ตัวเองมี เพื่อไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเฉพาะทางไปเลย โดยแพทย์เฉพาะทางที่คนเรียนแพทย์นิยมต่อกัน ก็มี กุมารเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ และ สูตินารีเวช ใครชอบสายไหน ก็ไปต่อสายนั้นกันได้เลย

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก TAP Magazine

 

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life