ไกด์ญี่ปุ่น

เวลาไปเที่ยวที่ไหน อาชีพที่เราเห็นได้บ่อยครั้งคือ มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ ตามความเข้าใจทั่วไป ก็คือ คนที่พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ ตามโปรแกรมทัวร์ที่ได้ซื้อเอาไว้ แต่ที่จริงแล้ว อาชีพนี้มีความสำคัญมากกว่านั้น และไม่ได้ทำแค่ในประเทศเท่านั้น ยังสามารถไปทำต่างประเทศได้ด้วย สำหรับคนที่ได้ภาษาอื่น แล้วอาชีพนี้มีความสนใจอย่างไรนั้น ก็ต้องไปดูตาม JobsChiangrai ได้เลย

รู้จักอาชีพ ‘มัคคุเทศก์’

ไกด์

อาชีพนี้ เรียกกันง่ายๆ คือ ‘ไกด์’ ตามคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ‘Guide’ นั่นเอง ซึ่งแปลว่า การนำทาง แต่อาชีพนี้ ไม่ได้มีแค่การนำเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นทูตทางวัฒนธรรมให้กับประเทศนั้นๆ ได้อีกด้วย เพราะระหว่างการนำเที่ยว ก็ต้องมีการบอกเล่าเรื่องราว ที่มาความเป็นไปของสถานที่ที่เราไปเที่ยว รวมไปถึงสังคมและวัฒนธรรม สามารถตอบคำถามของลูกทัวร์ได้  มีความรู้ในสถานที่ที่ไปเป็นอย่างดี หากสามารถพูดภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สามได้ จะถือเป็นแต้มบวกให้กับเราได้ดีทีเดียว

สายงานมัคคุเทศก์

สายงานมัคคุเทศก์ สำหรับคนที่พูดภาษาไทย

สำหรับคนที่สามารถพูดภาษาไทยได้ และต้องการเป็นไกด์ภายในประเทศ ได้มีการแบ่งไกด์ออกเป็น 3 แบบตามบัตรไกด์ ที่ออกโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดังนี้

ไกด์อยุธยา

  1. บัตรมัคคุเทศก์ทั่วไป เป็นบัตรสีบรอนซ์เงิน
  2. บัตรมัคคุเทศก์แบบภูมิภาค คือ
    ภาคกลาง บัตรสีเหลือง
    ภาคเหนือ บัตรสีเขียว
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บัตรสีส้ม
    ภาคใต้ บัตรสีฟ้า
  3. มัคคุเทศก์ประเภทท้องถิ่น บัตรสีน้ำตาล

สายงานมัคคุเทศก์ สำหรับคนที่ได้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ส่วนใครที่สามารถพูดภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาที่สาม ได้เป็นอย่างดี ก็สามารถสมัครเป็นไกด์ 3 ประเภท ได้ดังนี้

ไกด์นำเที่ยวต่างชาติ

  1. ไกด์ Domestic เป็นการนำเที่ยวสำหรับคนในประเทศ เพื่อท่องเที่ยวในประเทศ แต่จะมีความพิเศษเพิ่มมา นั่นก็คือ มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สาม ต้องผ่านการทดสอบ เพื่อเพิ่มขอบเขตในการงาน เช่น การรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ สามารถไปต่างประเทศได้ ทำให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
  2. ไกด์ Outbound เป็นการนำเที่ยวคนในประเทศ ไปเที่ยวที่ต่างประเทศ ซึ่งไกด์จะต้องสามารถติดต่อประสานงานกับประเทศที่จะพาไปเที่ยวได้ มีความรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ และสามารถอธิบายให้กับคนในประเทศเข้าใจได้ ต้องได้ภาษา เพราะมีการติดต่อกับคนนอกประเทศด้วย
  3. ไกด์ Inbound เป็นการพาคนนอกประเทศเข้ามาเที่ยวในประเทศ ซึ่งไกด์ต้องมีความสามารถทางด้านภาษาที่ดี เพราะต้องพูดอธิบายกับลูกทัวร์ที่เป็นชาวต่างชาติ มีความรู้ในสถานที่ต่างๆ ภายในประเทศ และอธิบายออกมาเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับลูกทัวร์

ลักษณะงานของมัคคุเทศก์

โดยทั่วไปแล้ว มัคคุเทศก์ มีหน้าที่ในการพาลูกทัวร์ในการเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่ได้จัดเตรียมไว้ในโปรแกรม ใช้ภาษาที่สามารถสื่อสารกับลูกทัวร์ได้เข้าใจกัน อธิบายความเป็นมาของสถานที่นั้นๆ และยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่ต้องทำตามนี้

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

  • จัดโปรแกรมทัวร์ที่ได้จากบริษัททัวร์ เช่น สถานที่ วัน เวลา จำนวนลูกทัวร์ อายุ เป้าหมายของการเที่ยว ร้านอาหาร การขอเข้าใช้สถานที่ โรคประจำตัวนักท่องเที่ยว ความต้องการพิเศษ และเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น
  • หลังจากที่ได้รับโปรแกรมจากบริษัททัวร์แล้ว ก็ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมไปถึงเส้นทางที่จะใช้ในการเดินทาง
  • คอยให้ข้อมูลและคำแนะนำกับลูกทัวร์ สังเกตการณ์และประเมินว่า ลูกทัวร์แต่ละกลุ่มต้องการอะไรเป็นพิเศษ ประเมินความพึงพอใจของลูกค้า หากได้รับคำติชมมา ก็นำกลับมาปรับปรุงในครั้งต่อไป

อยากเป็นไกด์นำเที่ยว ต้องเรียนด้านไหนดี?

ทัวร์วัด

ระดับมัธยมศึกษา

  • สายสามัญ : จบการศึกษาระดับมัธยม สายวิทย์คณิต สายศิลป์คำนวณ หรือ สายศิลป์ภาษา ก็ได้ แต่หากจบสายศิลป์ภาษา จะค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องภาษาที่สามมากว่าสายอื่น
  • สายอาชีพ : จบการศึกษาอนุปริญญา สาขามัคคุเทศก์ หรือ สาขาการท่องเที่ยว ที่มีความเกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์ตามที่คณะกรรมการกำหนด หรือ ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองในการผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่กำหนด

ระดับปริญญาตรี

เมื่อเรียนจบระดับมัธยมแล้ว สามารถไปต่อระดับปริญญาได้ตามคณะต่างๆ ดังนี้

  • คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • คณะการจัดการ
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะศิลปะศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือมัคคุเทศก์

ใบประกอบวิชาชีพมัคคุเทศก์

หลังจากที่เรียนจบแล้ว คนที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ ต้องมี “บัตรมัคคุเทศก์” หรือที่เรียกกันว่า “บัตรไกด์” มีการจัดสอบโดย กรมการท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งประเภทการสอบ ดังนี้

บัตรมัคคุเทศก์

  1. บัตรมัคคุเทศก์ทั่วไป
  2. บัตรมัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
  3. บัตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่น

โดยจะทำการทดสอบความรู้ออกเป็น 2 หมวด ได้แก่

  1. หมวดความรู้ทั่วไป เน้นในเรื่องหลักในการทำอาชีพมัคคุเทศก์ และมีการแบ่งย่อยออกมาเป็น ความรู้ทางวิชาการและทักษะความรู้ทางอาชีพ ถือเป็นหมวดที่มีความสำคัญที่สุดในการสอบบัตรไกด์
  2. หมวดภาษาต่างประเทศ ซึ่งผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไปไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ

เงินเดือนไกด์

ไกด์พาเที่ยว

สำหรับคนที่จะทำงานเป็นไกด์นั้น สามารถเลือกทำงานตามบริษัท หรือ จะทำงานเป็นไกด์อิสระก็ได้ หากทำงานในบริษัท จะได้รับเงินเดือนตามโครงสร้างที่ทางบริษัทตั้งไว้ แต่หากเป็นไกด์อิสระ จะได้รับเงินค่าจ้างต่อวัน ตั้งแต่ 1,000 บาท ไปจนถึง 40,000 บาทเลยทีเดียว ยิ่งถ้าใครที่สามารถพูดภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สามได้ ก็จะทำให้ได้เงินค่าภาษาเพิ่มขึ้น บางครั้ง ก็ได้ค่านายหน้าจากการพาลูกค้าไปซื้อของฝาก ของที่ระลึกด้วย หรือจะเป็นทริปที่ได้จากลูกค้า หลังจบการทัวร์ก็มี

นักท่องเที่ยวต่างชาติ

สรุป

ใครที่เป็นสายชอบเข้าสังคม ชอบเที่ยว ต้องอยากเป็น มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ อย่างแน่นอน เพราะอาชีพนี้ จะทำให้เราได้ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ได้พูดคุยกับลูกทัวร์ ได้วางแผนการเที่ยว ยิ่งใครที่มีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศ ก็จะยิ่งทำให้ได้เงินเพิ่มขึ้นจากการทำทัวร์ด้วย ถึงจะดูน่าสนุกมากแค่ไหน แต่อาชีพนี้ก็ต้องอาศัยทั้งทักษะการสังเกตการณ์ ความละเอียดรอบคอบ ความอดทน ประสบการณ์ และความเป็นมืออาชีพอย่างมาก เพื่อให้ลูกทัวร์ได้รับการบริการที่น่าพึงพอใจและมีแนวโน้มที่จะใช้บริการกับเราในอนาคต

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Withlocals

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life