รอบตัวเรามีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย จนทำให้เกิดอาชีพ นักจิตวิทยา ขึ้นมา โดยปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เรื่องในครอบครัว เรื่องของความสัมพันธ์ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดเสมอ ในบางปัญหา เราก็ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการกดดันตัวเองขึ้นมา จนเครียดจัด บางคนก็ถึงขั้นฆ่าตัวตาย และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านั้น จึงได้มีอาชีพนักจิตวิทยาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
รู้จักอาชีพ ‘นักจิตวิทยา’
เป็นอาชีพที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานภายในจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจความคิด อารมณ์ แรงจูงใจ สิ่งที่ต้องการของคนๆ นั้น โดยอาศัยหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาข้อมูล สังเกตการณ์ รวบรวมข้อมูล แล้วนำเอามาวิเคราะห์เป็นบทสรุป อาชีพนี้ เน้นไปที่การวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์เป็นหลัก เพื่อรักษา ป้องกัน และบำบัดให้คนๆ นั้นเข้าใจการใช้ชีวิตอย่างถูกวิธี
สาขาของนักจิตวิทยา
แม้ว่านักจิตวิทยาจะทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดภายในตัวของมนุษย์ แต่ที่จริงแล้ว สามารถแยกย่อยไปเป็นจิตวิทยาเฉพาะทางได้เหมือนแพทย์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 6 สาขา ดังต่อไปนี้
- สาขาจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยา ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการศึกษา เน้นหนักในเรื่องของพฤติกรรมศาสตร์ ศึกษาระเบียบวิธีการของคนแต่ละคน - สาขาวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)
เป็นการศึกษาความสามารถของพฤติกรรมมนุษย์ ตั้งแต่เราเกิดมาลืมตาดูโลก ดูขั้นตอนต่างๆ กว่าจะโตมา ว่า แต่ละวัยมีการพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอย่างไรบ้าง - สาขาจิตวิทยาสังคม (Social Psychology)
เป็นการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมหมู่มาก มีการใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อต้องออกมาจากสังคมหมู่มาก อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า ‘มนุษย์เป็นสัตว์สังคม’ เราจึงจะมาดูกันว่า อะไรเป็นอิทธิพลต่อกลุ่มคนนั้นๆ และสิ่งต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคม - สาขาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology)
คนที่จะทำงานสายนี้ ต้องเข้าใจทั้งตัวเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี สามารถนำมาพัฒนาและนำมาใช้ในชีวิตจริง สามารถมองคนอื่นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง มองอย่างไม่มีอคติ รู้จักการตัดสินใจและแก้ปัญหา - สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology)
แน่นอนว่า ในแต่ละองค์กร จะมีปัญหาเกี่ยวกับคนมากพอสมควร ด้วยความที่แต่ละมาจากต่างพ่อต่างแม่ เลยต้องหาจุดกลางให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในองค์กร ใช้ตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงาน พัฒนา บริหาร ความสัมพันธ์ภายในองค์กร เพื่อตอบสนองการเติบโตขององค์กร - สาขาจิตวิทยาคลินิค (Clinical Psychology)
สำหรับคนที่จะทำงานทางด้านจิตวิทยาคลินิก ซึ่งเป็นสาขาที่เน้นไปทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างเยอะ ต้องพยายามศึกษาว่า เหตุใดคนๆ นั้นจึงมีความผิดปกติเกิดขึ้นทางจิตใจ ใช้หลักการและความรู้ทางจิตวิทยามาทำการวิเคราะห์ สามารถบำบัดให้กับคนไข้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมแสดงออกได้อย่างถูกวิธี
ลักษณะงานของนักจิตวิทยา
- พูดคุยและวินิจฉัยคนไข้ โดยใช้การทดสอบทางจิตวิทยาเป็นหลัก รวมไปถึงการสังเกตพฤติกรรมต่างๆ
- บำบัดทางจิตวิทยา เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้ยาแต่อย่างใด สามารถใช้วิธีการพูดคุยหรือทำกิจกรรมได้
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับสายงานจิตวิทยาที่กำลังทำอยู่เพิ่มเติม เพราะสังคมเปลี่ยนไป จิตใจของคนเราก็สามารถเปลี่ยนไปได้เช่นกัน
ลงงานส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับคนในชุมชุน บอกแนวทางและวิธีในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในภายหลัง
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นนักจิตวิทยา
- ศึกษาจบปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์, คณะมนุษย์ศาสตร์ โดยศึกษาอยู่ในสาขาวิชาจิตวิทยา
- เข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างดี สามารถใช้ความรู้ของตัวเอง เพื่อบำบัดผู้ป่วย
- มีความอดทนสูง ใจเย็น ไม่ด่วนตัดสิน
- มีสุขภาพร่ากายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง
- สำหรับสายงานวิทยาอื่นๆ ยังไม่ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์ แต่ใครที่ต้องการเป็นนักจิตวิทยาคลินิก ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์ด้วย
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาจิตวิทยา
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิก, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลินิก, สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, สาขาจิตวิทยาชุมชน, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา, วิชาเอกจิตวิทยาคลินิกและชุมชน
- มหาวิทยาลัยพายัพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ, วิชาเอกจิตวิทยาให้คำปรึกษาและแนะแนว, วิชาเอกจิตวิทยาสังคม
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
- วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาคลินิก, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
- มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา
เงินเดือนนักจิตวิทยา
สำหรับอาชีพนักจิตวิทยาในประเทศไทย ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่าไหร่ จนกระทั่งเกิดวิกฤติ COVID-19 ทำให้ผู้คนเริ่มมีปัญหาทางจิตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ซึ่งสำหรับนักจิตวิทยาในประเทศไทย สามารถแบ่งเงินเดือนออกได้ตามนี้
- โรงพยาบาลรัฐทั่วไป ได้เงินเดือนประมาณ 9,000 – 15,000 บาท
- โรงพยาบาลเอกชนทั่วไป จะเริ่มต้นที่ 15,000 – 16,000 บาท พร้อมบวกค่าอื่นๆ ทำให้เงินเดือนสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 20,000 บาท
- โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ได้เงินเดือนประมาณ 6,000 – 7,000 บาท ต่อระยะเวลาการพูดคุย 3 ชั่วโมง
สรุป
นักจิตวิทยา หรือ ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยา ไม่ได้เป็นการเรียน เพื่อไปเป็นแพทย์ เพราะหาทางสายการแพทย์ ก็จะเป็น ‘จิตแพทย์’ นักจิตวิทยาใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ออกมา คนที่จะทำงานด้านนี้ได้ ต้องเข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างดี ไม่มองคนด้วยอคติ เป็นคนที่ใจเย็น มีความอดทน เพราะเราจะได้เจอกับคนที่มาในหลากหลายอารมณ์ หลากหลายรูปแบบ แม้ว่าตอนนี้ อาชีพนักจิตวิทยาจะยังไม่บูมเท่าไหร่ในประเทศไทย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้หลายคนเครียดเป็นอย่างมาก ทำให้นักจิตวิทยาค่อนข้างมีความสำคัญในช่วงนี้ แต่ใครที่กำลังว่างงาน ที่ JobsChiangrai มีงานมากมายกำลังรอให้ท่านสมัครอยู่
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Radiant