งานของนักสังคมสงเคราะห์

หลายคนคงมีคำถามในใจว่า นักสังคมสงเคราะห์ ทำหน้าที่อะไรบ้าง ทำไมถึงต้องมีอาชีพนี้ขึ้นมาด้วย ใช่คนที่ทำงานตามมูลนิธิต่างๆ หรือเปล่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด งานของนักสังคมสงเคราะห์มีมากกว่านั้น เป็นงานที่จะทำให้คุณได้ตระหนักถึงคุณค่าของมนุษย์มากกว่าที่เคย หากอยากรู้ว่าคืองานแบบไหน ก็ต้องตาม JobsChiangrai ไปดูกันเลย

รู้จักอาชีพ ‘นักสังคมสงเคราะห์’

นักสังคมสงเคราะห์

นักสังคมสงเคราะห์ เป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวโยงกับมนุษย์มากที่สุด เพราะต้องทำงานร่วมกับมนุษย์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ปัญหาเรื่องส่วนตัวไปจนถึงปัญหาระหว่างครอบครัว หรือ จะเป็นสวัสดิการทางสังคม ที่คนในสังคมๆ นั้นควรจะได้รับ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิทางด้านการศึกษา เป็นต้น ตระหนักให้เห็นถึงคุณค่าของมนุษย์ทุกคน ให้ความช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน และต้องเคารพในการตัดสินใจของคนที่กำลังให้ความช่วยเหลือด้วย

ลักษณะงานนักสังคมสงเคราะห์

คุยกับนักสังคมสงเคราะห์

การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์นั้น ขึ้นอยู่กับองค์กรที่เราทำงานด้วยอยู่และเป้าหมายขององค์กร เช่น องค์กรเด็ก องค์กรผู้สูงวัย องค์กรLGBT ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพราะหัวใจหลักของการทำงานนี้ ก็คือ ช่วยให้ผู้คนได้รับสวัสดิการที่ควรจะมี ได้รับความช่วยเหลือ ให้เขาเหล่านั้น สามารถตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเอง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

คุณสมบัติของนักสังคมสงเคราะห์

พูดคุยปรึกษา

  1. มีทัศนคติในการใช้ชีวิตที่ดี มีพลังบวก เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่การพูดตอกย้ำให้คนอื่นรู้สึกแย่กว่าเดิม
  2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทั้งกับเพื่อนร่วมงานและคนที่ต้องทำงานด้วย ยอมรับความหลากหลาย ทั้งเรื่องเพศ การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ ลักษณะนิสัยต่างๆ มองในจุดแข็งและของดีของผู้อื่น ทำความเข้าใจโดยปราศจากอคติ
  3. สิ่งที่สำคัญมากก็คือ เราต้องเข้าใจผู้อื่น ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เพราะการที่จะสามารถเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงได้นั้น เราก็ต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้พบปัญหากำลังประสบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาของปัญหาหรือความรู้สึกก็ตาม
  4. รู้จักอดทน อดกลั้น เพราะเราจะต้องเจอกับผู้คนมากมาย แม้มีบางเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ หรือ รู้สึกว่า สิ่งๆ นี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แต่ต้องพยายามอดทนและทำความเข้าใจกับสิ่งๆ นั้น และมุมมองของคนๆ นั้น

อยากเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ต้องเรียนอะไร

เราสามารถแบ่งช่วงเวลาในการเรียนและการสอบ สำหรับนักสังคมสงเคราะห์ได้ออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

ให้คำปรึกษา

ระดับมัธยม

  • สายสามัญ - สามารถเลือกต่อสายไหนก็ได้ เช่น สายวิทย์คณิต สายศิลป์คำนวณ สายภาษา เป็นต้น
  • สายอาชีพ - จบปวช. หรือ ปวส. ที่เกี่ยวข้อง

ปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์ ได้แก่

  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกริก
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ใบประกอบวิชาชีพ

ก่อนที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพ จะได้รับการทดสอบก่อน 2 อย่าง นั่นก็คือ

  1. สอบข้อเขียน สำหรับใบอนุญาต 1 ปี
  2. ฝึกงาน 240 ชั่วโมง มีการทำ Case review ภายใน 1 ปี และสอบสัมภาษณ์ สำหรับใบอนุญาต 4 ปี

เงินเดือนนักสังคมสงเคราะห์

หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรี 4 ปีแล้ว ก็ต้องไปทำเรื่องขอใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับบางหน่วยงานเท่านั้น โดยสามารถแบ่งออกไปสามสายงานตามนี้

อาสาสมัคร

พนักงานราชการ

  • เงินเดือนเริ่มต้นที่ 18,000 บาท
  • มีตำแหน่งเฉพาะทางต่างๆ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน เป็นต้น โดยสัญญาจ้าง จะมีการประเมินทุก 3 – 4 ปี

รับราชการ

  1. เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท
  2. สอบบรรจุในตำแหน่ง “นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ”
  3. เลื่อนตำแหน่งมาเป็น “นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ”
  4. และเป็นตำแหน่ง “นักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ”

พนักงานเอกชน

หน่วยงาน Non – Government

  • เงินเดือนเริ่มต้นที่ 14,000 บาท

หน่วยงานระหว่างประเทศ

  • เงินเดือนเริ่มต้นที่ 20,000 บาท

กอด

สรุป

งานของ นักสังคมสงเคราะห์ นั้น เป็นงานที่ได้ช่วยเหลือผู้คนมากมายที่กำลังเดือดร้อน เราอาจมองว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว การที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด ต้องเป็นคนที่รู้จักเข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างดี ไม่ตัดสินใจคนอื่นจากการมองแค่แว๊บแรกเท่านั้น หาวิธีการแก้ปัญหา และทำให้คนที่กำลังประสบปัญหานั้น ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองในฐานะมนุษย์ ให้คนๆ นั้นได้รับสิทธิหรือสวัสดิการทางสังคมอย่างเหมาะสม

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Touro University Worldwide

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life