ภาวะหมดไฟในการทำงาน (BURNOUT SYNDROME)

หนึ่งในสาเหตุที่คนออกจากงานเป็นจำนวนมาก นั่นก็คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน (BURNOUT SYNDROME) เป็นความเครียดเรื้อรัง ที่เกิดจากการทำงาน หรือ สถานที่ในการทำงาน และยังเป็นภาวะที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งในชีวิตทำงานอีกด้วย ภาวะหมดไฟคืออะไร อยากรู้คำตอบ ต้องมาอ่านกับเราได้ที่ JobsChiangrai กันเลย

ภาวะหมดไฟในการทำงาน คืออะไร?

ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ BURNOUT SYNDROME เป็นภาวะที่เกิดมาจากความเครียด ทำให้บางครั้งเรารู้สึกเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร สูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองอะไรก็เป็นแง่ลบ ไม่มีความสุข หมดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันดูน่าเบื่อ ไม่มีเรี่ยวแรง แต่อาการเหล่านี้ ยังไม่รุนแรงเท่ากับ โรคซึมเศร้า

หากปล่อยไว้นานๆ อาจจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง และ เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน เช่น ขาดงานบ่อย ลางานบ่อย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ต้องการลาออกจากงาน แต่อาการเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่า เรากำลังเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน

  1. งานหนักเกินไป งานปริมาณมากเกินไป ต้องทำงานอย่างเร่งรีบเป็นประจำ
  2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ไม่สามารถเรียงลำดับความสำคัญของงานได้
  3. ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่าต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
  4. รู้สึกเหมือนไม่มีตัวตนเวลาอยู่ในที่ทำงาน ไม่มีใครเห็นคุณค่าของเรา
  5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ไม่มีใครเชื่อใจในตัวเรา
  6. ระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อความสามารถและสิ่งที่เราได้ทุ่มเทให้กับบริษัท

สัญญาณเตือนว่า เรากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน

  • ด้านอารมณ์

- หดหู่

- เศร้า

- หงุดหงิดง่าย

- อารมณ์แปรปรวน

อาการของคน burn out

  • ด้านความคิด

- มองโลกในแง่ลบ

- ระแวง

- หนีปัญหา

- ไม่เชื่อใจตัวเอง

พฤติกรรมของคนหมดไฟ

  • ด้านพฤติกรรม

- ขาดความกระตือรือร้น

- ไม่อยากไปทำงาน

- บริหารงานไม่ได้

- ไม่มีสมาธิกับการทำงาน

- ไม่มีความสุขกับการทำงาน

วิธีจัดการกับภาวะหมดไฟในการทำงาน

เพื่อนกำลังปลอบใจ

  1. ไม่ทำงานหักโหมเกินไป ควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง ไม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน งานก็ต้องทำในที่ทำงาน ไม่ใช่เอากลับมาทำที่บ้านเป็นประจำ
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น ถ้าเรานอนหลับไปเพียง 3 – 4 ชั่วโมง ก็จะไม่เพียงพอให้ร่างกายได้ซ่อมแซม ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้ามากเป็นพิเศษ
  3. มองหาที่ปรึกษา เวลาที่เราเจอเข้าไปกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นใคร ก็อยากมองหาใครสักคนที่ไว้ใจได้ และ ยอมรับฟังเราอย่างไม่มีอคติ คนที่ทำให้เราสามารถคุยได้อย่างสบายใจ
  4. ยอมรับในความแตกต่างของคนอื่น เชื่อเถอะว่า ในโลกนี้ ทุกคนมีนิสัยแตกต่างกันหมด เนื่องจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ต่างๆ ทำให้หล่อหลอมคนๆ นั้นขึ้นมา
  5. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หาลองทำหลายวิธีแล้ว แต่ไม่ได้รู้สึกดีขึ้นเลย แบบนี้แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเลยดีกว่า เพราะทางสะสมไว้เป็นเวลานาน อาจจะทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้า และ รักษายากขึ้น

คิดงานไม่ออก

สรุป

สิ่งที่เหล่ามนุษย์งานต้องเจอกันบ่อยๆ นั่นก็คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ BURNOUT SYNDROME เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในวัยทำงาน ปัจจุบันได้ถูกบรรจุให้เป็นโรคใหม่ประจำองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว เกิดจากความเครียดสะสมเกี่ยวกับงานมาเป็นเวลานาน ทำให้กลายเป็นความเครียดเรื้อรัง รู้สึกไม่อยากทำงาน หมดแรงในทุกวัน ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงานอีกต่อ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปด้วย

หากใครที่กำลังมองหาวิธีในการจัดการกับภาวะหมดไฟในการทำงาน แอดมินขอแนะนำขั้นแรกเลย คือ อย่าหักโหมกับการทำงานจนมากเกินไป แม้ว่าจะดูเป็นคนขยัน แต่อาจส่งผลเสียกับเราได้ในระยะยาว ที่สำคัญ ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ เวลาเราไปทำงาน ก็มักจะเจอคนมากหน้าหลายตา หลายนิสัย ให้เปิดใจยอมรับความแตกต่างนั้น จะได้สบายใจมากยิ่งขึ้น หาคนที่เราสามารถพูดคุยปรึกษาได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นเลย ควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life