นักกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ

หลายคนน่าจะเคยได้ชื่ออาชีพ นักกายภาพบำบัด มาก่อนแล้ว เป็นอาชีพที่ได้รับความสำคัญในระดับโลกกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะในระบบสาธารณสุข เพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยไม่ต้องพึ่งยาหรือการผ่าตัด แต่ใช้การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้อีกครั้ง สำหรับประเทศไทย ยังถือว่าเป็นอาชีพที่ขาดแคลนอยู่ค่อนข้างเยอะ หากใครสนใจ ก็เข้ามาดูใน JobsChiangrai กันได้เลย

รู้จักอาชีพ ‘นักกายภาพบำบัด’

นักกายภาพบำบัดผู้หญิง

นักกายภาพบำบัด หรือ Physiotherapist เป็นอาชีพทางสายของวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นการป้องกัน รักษา และจัดการกับความเจ็บป่วยของคนไข้ ให้สามารถหายดีและใช้ชีวิตได้ตามปกติสุขอีกครั้ง โดยในการรักษา จะไม่ได้ใช้การผ่าตัดหรือการใช้ยา ส่วนใหญ่มักเป็นโรคหรืออาการที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือบางอย่างในการช่วยรักษาคนไข้ ทุกกระบวนการจะอยู่ภายใต้การควบคุมของนักกายภาพบำบัด

สายงานนักกายภาพบำบัด

ตัวงานทั่วไปของนักกายภาพบำบัด คือ การตรวจประวัติการรักษาของคนไข้ ตรวจร่ายกาย ใช้ข้อมูลต่างๆ ในการวิเคราะห์ว่า คนไข้เหมาะกับการรักษาแบบใดมากกว่ากัน โดยปัจจุบัน ได้มีการแบ่งแยกสายงานของนักกายภาพบำบัด ดังต่อไปนี้

นักกายภาพบำบัดด้านกีฬา

กายภาพบำบัดกระดูกและกล้ามเนื้อ

สายงานนี้ ตรงกับที่เรียนมาโดยตรง มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ออฟฟิศซินโดรม, ปวดเมื่อยตามร่างกาย, ออกกำลังกายผิดท่า, ร่างกายบางส่วนไม่สามารถขยับได้ตามปกติ เป็นต้น

กายภาพบำบัดเด็ก

มักใช้ในกรณีที่ เด็กที่เกิดมา มีการพัฒนาที่ล่าช้ามากกว่าเด็กทั่วไป เช่น ไม่สามารถคลาน เดิน ยืน หรือ พูดได้ นักกายภาพบำบัดสายนี้ ต้องทำการแก้ไข เพื่อให้เด็กสามารถมีพัฒนาการเท่ากับคนปกติให้ได้

กายภาพบำบัดผู้สูงวัย

ปัจจุบัน ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก สังคมของเรา เริ่มเข้าสู่การเป็นสังคมของผู้สูงวัยกันแล้วทั่วโลก ทำให้สายงานนี้มีบทบาทอย่างมาก เช่น ป้องกันโรคภัยต่างๆ กระดูกพรุน อัลไซเมอร์ เป็นต้น

กายภาพบำบัดกีฬา

มักพบเห็นได้ตามทีมนักกีฬาทุกประเภท ที่นอกจากตัวแพทย์แล้ว จะมีผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ อย่างการ วางแผนซ้อม เพื่อไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ หรือ การรักษาสมรรถภาพทางร่างกายก่อนวันแข่งจริง การฟื้นฟูร่างกายหลังงานแข่ง เป็นต้น

กายภาพบำบัดชุมชน

เป็นการทำงานเชิงรุก โดยไม่ว่าใคร ก็สามารถมาทำการรักษาได้ เช่น ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ที่ไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลเองได้ มักมีอยู่ในทุกชุมชน

กายภาพบำบัดระบบประสาท

ผู้ป่วยที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยพาร์กินสัน สมองพิการแต่กำเนิด รวมถึงผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ ทำให้สมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

กายภาพบำบัดระบบทรวงอกหลอดเลือดและหัวใจ

คนที่ป่วยเกี่ยวกับโรคของหัวใจ จะได้รับการบำบัดทั้งก่อนและหลังผ่าตัด โดยให้ทำการฝึกไอ ฝึกหายใจ ออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้ส่วนของปอดและหัวใจทำงานหนักเกินไป

งานกายภาพบำบัดอื่นๆ

อาจเป็นการสอนวิธีการออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์ หรือ คนที่เป็นเบาหวาน

คุณสมบัติของนักกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล

  1. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย สามารถพูดคุยกับคนได้หลากหลายประเภท สื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ
  2. ช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ เพราะหากเราไม่ทันสังเกตบางสิ่งบางอย่าง อาจทำให้คนไข้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้
  3. ความเห็นอกเห็นใจที่มีให้กับผู้อื่น คนที่เข้ามารับการทำกายภาพบำบัด ไม่ใช่คนที่สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนคนปกติ ดังนั้น เราต้องพยายามเข้าใจ อดทน และใจเย็นเป็นอย่างมาก
  4. คล่องแคล่ว ว่องไว มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะต้องใช้กำลังในการช่วยเหลือคนอีกคน

อยากเป็นนักกายภาพบำบัด ต้องเรียนอะไรบ้าง

จบระดับการศึกษาชั้นมัธยม สายสามัญ วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า เข้าสอบระดับมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีโดยเลือกเข้าคณะดังต่อไปนี้

นักกายภาพบำบัดตามบ้าน

  • คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • คณะกายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • คณะกายภาพบำบัด สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
  • สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรกายภาพบำบัด
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชากายภาพบำบัด

ใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัดดูแลคนไข้

หลังจากเรียนจบหลักสูตรแล้ว จะมีการสอบประเมินใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดจากสภากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย เพื่อดูว่า มีสิทธิเข้าทำการรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพได้หรือไม่ โดยจะต้องทำการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพทุกๆ 5 ปี มีการศึกษาหาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าอบรม เพื่อเก็บคะแนนได้

เงินเดือนนักกายภาพบำบัด

ส่วนใหญ่แล้ว นักกายภาพบำบัดจะทำงานตามโรงพยาบาลต่างๆ เพราะต้องใช้ประวัติการรักษาของคนไข้ในการประกอบวิธีการรักษาตามแบบของนักกายภาพด้วย โดยเงินเดือนก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

นักกายภาพบำบัดยิ้ม

  1. โรงพยาบาลรัฐ เงินเดือนประมาณ 15,000 บาท ขึ้นไป
  2. โรงพยาบาลเอกชน เงินเดือนประมาณ 30,000 – 60,000 บาท ขึ้นไป
  3. เปิดคลินิกกายภาพบำบัด เงินเดือนขึ้นอยู่กับรายได้ในแต่ละเดือนของคลีนิค
  4. ดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยตามบ้าน คิดค่าบริการ 800 – 1,000 บาท ต่อคน

นักกายภาพบำบัดสอนเดิน

สรุป

ใครที่อยากเป็น นักกายภาพบำบัด ไม่ได้มีเพียงแค่ความรู้ที่แน่นเท่านั้น แต่ยังต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงด้วย เพราะต้องคอยช่วยเหลือคนไข้ในการทำกายภาพบำบัด เรียนจบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์สุขภาพมาโดยตรง เป็นคนที่ใจเย็น มีความอดทน มีความละเอียดรอบคอบ ชอบสังเกตผู้คน เพราะหากเราพลาดไปแม้แต่นิดเดียว อาจทำให้คนไข้บางคนเสียชีวิตหรือพิการได้เช่นกัน หลังจากที่เรียนจบไป มักจะไปทำงานตามโรงพยาบาลต่างๆ พอมีประสบการณ์มากขึ้น สามารถรับมือกับคนไข้ได้ดี บางคนก็จะเปิดคลินิก เพื่อรับคนไข้เป็นของตัวเองไปเลย ที่สำคัญ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพด้วย

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก The Bridge

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life