เกษตรกร อาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตาทวดกันเลยทีเดียว ถือเป็นอาชีพเศรษฐกิจของไทยเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนก็เริ่มไม่ค่อยให้ความสนใจกับงานนี้กันเท่าไหร่ แต่ที่จริงแล้ว การเป็นเกษตรกร ไม่ได้หมายความว่า เราต้องเป็น ‘ชาวนา’ เท่านั้น อาชีพนี้ยังมีอาชีพย่อยอื่นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ ใครที่ชื่นชอบในเรื่องการปลูกพืชผัก ไร่สวน ต่างๆ ก็สามารถเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดงานนี้ได้ผ่านทาง JobsChiangrai
ทำความรู้จักอาชีพ ‘เกษตรกร’
เกษตรกร หรือ ผู้ที่ทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ การประมง หรือ การผลิตอาหารต่างๆ ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค เป็นอาชีพอิสระ ไม่ต้องขึ้นตรงกับหน่วยงานไหน สามารถวางแผนได้เองเลย แต่ก็มีบางส่วนเช่นกันที่สามารถทำงานกับทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนได้ เน้นในเรื่องของการศึกษาวิจัยธรรมชาติเป็นหลัก รวมไปถึงดินฟ้าอากาศ ปัจจัยที่จะทำให้พืชพรรณสามารถเติบโตมาได้เป็นอย่างดี
คนที่ทำงานทางด้านการเกษตรนั้น จะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่กับธรรมชาติเป็นหลัก มีความรู้และความเข้าใจในเราองของงานที่เราทำ สามารถไปหาคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกทาง เช่น ถ้าเป็นเรื่องสัตว์ ต้องไปปรึกษากับทางสัตวแพทย์ เป็นต้น มีการลองผิดลองถูกกันไป จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การเกษตรปัจจุบัน ได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน
ลักษณะงานของเกษตรกร
อาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพอิสระ ทำให้มีความหลากหลายในการทำงาน แล้วแต่ความรู้ ความถนัด และสิ่งที่เรากำลังเลือกทำอยู่ สามารถมาได้จากทั้งพืชและสัตว์ นำมาบริโภคหรือนำไปขาย หรือจะนำไปแปรรูปก็ได้เช่นกัน โดยแหล่งวัตถุดิบ ถือเป็นแหล่งที่สำคัญมาก ต้องดูแลเป็นอย่างดี ซึ่งหากถามถึงตัวงานของเกษตรกรแล้ว ก็มีอยู่มากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ตามนี้
- สำรวจพื้นที่ในการทำงาน เช่น พื้นดินแห้งแล้ง พื้นดินชุ่มชื่น มากแค่ไหน เหมาะสำหรับทำการเพาะปลูกอะไร สภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลเป็นอย่างไร
- ช่องทางในการติดต่อค้าขายกับทางด้านนอก ทำอย่างไรให้สินค้าของเราขายได้ สถานที่ในการผลิตสินค้า ต้องมีการออกแบบและปรับแต่งให้เหมาะสมไปตามประเภทสินค้า
- ทำความรู้จักกับเครือข่ายของกลุ่มค้าขาย เพื่อที่จะได้ทำการติดต่อซื้อขายกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
- หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเรื่องของเทคนิคการทำงานหรือเทคโนโลยี ที่มีการอัพเดตกันเป็นประจำ จะช่วยให้ผลผลิตของเราดูดีมากกว่าเดิม
- บางวันงานอาจไม่ใช่งานเดิม มีความยืดหยุ่นสูง บางทีก็ต้องแล้วแต่ว่า สภาพอากาศเป็นอย่างไรด้วย
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นเกษตรกร
- มีร่างกายที่แข็งแรง ชอบงานสายลุย รักในธรรมชาติ มีความอดทนสูง
- มีความสามารถในการปรับตัว เพราะทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
- มีความรับผิดชอบ เพราะงานนี้ไม่มีใครคอยสั่งเรา เราต้องเป็นคนวางแผนและจัดการเองทั้งหมด
- ช่างสังเกต สามารถเห็นในสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ แล้วคิดหาหนทางในการแก้ไขหรือรักษา
- มีทักษะในการเข้าสังคม รู้จักพูดคุยกับเพื่อนๆ ร่วมสายอาชีพ เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหา หรือ พยายามหาช่องทางค้าขายไปด้วยกัน
- สามารถใช้เครื่องกลได้เป็นอย่างดี เพราะมีอุปกรณ์หลายอย่างที่เราต้องใช้ให้ได้อย่างคล่องแคล่ว
- มีความเข้าใจทางด้านการเกษตรเป็นอย่างดี และต้องรักในงานที่ตัวเองทำอีกด้วย
อยากเป็นเกษตรกร ต้องทำอย่างไร
สำหรับใครที่อยากเป็นเกษตรกร สามารถจบมาได้ทั้งสายวิทย์คณิตและสายศิลป์ หรือจะจบสายวิชาชีพระดับปวช.และปวส.ก็ได้ แต่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร ส่วนใครที่คิดจะต่อระดับปริญญาตรี แนะนำให้เรียนต่อใน ‘คณะเกษตรศาสตร์’ ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง โดยมีมหาวิทยาลัยและคณะที่แนะนำ ดังนี้
- คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
- คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
- คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชครินทร์
- คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (วิทยาเขตสุรินทร์)
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาเขตสระแก้ว)
- คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
- คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
รายได้เกษตรกร
ด้วยความที่อาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพอิสระ รายได้ก็ขึ้นอยู่กับผลผลิตที่เราทำได้ในแต่ละเดือน ดังนั้น ถ้าจะให้คิดรายได้เป็นรายเดือน ก็ค่อนข้างที่จะยากไปหน่อย อีกทั้ง ยังต้องขึ้นอยู่กับสายอาชีพอีกด้วยว่า จะทำในอาชีพไหน ถ้าเป็นงานอิสระ เงินก็ขึ้นอยู่กับผลผลิต แต่ถ้าเป็นงานที่ทำในองค์กร ก็ขึ้นอยู่กับลำดับขั้นและตำแหน่งที่ทำอยู่
อาชีพแนะนำสำหรับ ‘เกษตรกร’
- ชาวนา ปลูกข้าว ทำนา
- นักวิจัยพันธุ์พืช
- นักวิชาการเกษตร
- นักโภชนาการ
- นักวิทยาศาสตร์เคมี
- ชาวประมง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประมงน้ำจืด และ ประมงน้ำเค็ม
- ชาวไร่ ชาวสวน เช่น การปลูกพืชไร่ สับปะรด ส้ม ผักสวนครัว เป็นต้น
- งานทางด้านปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงสัตว์สำหรับการบริโภค เป็นต้น
สรุป
แม้จะไม่ได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน แต่อาชีพ เกษตรกร ก็เป็นอาชีพที่มีความสำคัญและสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ใครที่เป็นสายลุย รักในธรรมชาติ ชื่นชอบชีวิตที่เรียบง่าย ต้องมาทำอาชีพเกษตรกรเลย สามารถจัดสรรเวลาได้ด้วยตัวเอง สามารถทำงานตามแผนที่ตัวเองวางไว้ได้เลย มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สังเกตการณ์ เป็นอย่างมาก เพราะเราต้องหมั่นสังเกตผลผลิตของเราว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือไม่ดี หากไม่ดี ก็ต้องรีบหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก เทคโนโลยีชาวบ้าน
บทความแนะนำ