เครื่องพากย์เสียง

นักพากย์ อาชีพที่ใช้ ‘เสียง’ ตัวเองในการทำงานเป็นหลัก เป็นอาชีพที่ใครหลายคนใฝ่ฝันเลยก็ว่าได้ นอกจากความสามารถที่ต้องมีการฝึกฝนกันแล้ว ยังต้องมีพรสวรรค์ทางด้านนี้อีกด้วย เวลาที่เราดูการ์ตูนหรือดูหนังจากต่างประเทศ เรามักจะได้เห็นการพากย์เสียงอยู่บ่อยครั้ง นั่นคือ สิ่งที่ต้องเป็นหลักของเหล่านักพากย์เสียง ใครที่อยากจะทำงานทางด้านนี้ ต้องเข้ามาอ่านเกี่ยวกับอาชีพ ‘นักพากย์’ ได้แล้วที่ JobsChiangrai

นักพากย์ คืออะไร

อัดเสียง

นักพากย์ เป็นการใช้เสียงในการถ่ายทอดเรื่องราวละอารมณ์ของตัวละคร หรือ แสดงคำพูดที่ตัวละครนั้นๆ ต้องการที่จะพูดออกมา เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเรื่องว่า มีความเป็นมาอย่างไร ตัวละครพูดอะไรกันบ้าง ตัวละครมีความรู้สึกอย่างไร ส่วนใหญ่แล้ว ทุกอย่างจะตรงตามกับต้นฉบับทั้งหมด ไม่มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน มากสุดก็คือ เพิ่มสีสันคำพูดบางอย่างลงไปเท่านั้น

ลักษณะงานของนักพากย์

งานหลักของนักพากย์ ก็คือ การใช้เสียงของตัวเอง เป็นตัวแทนของเสียงตัวละครที่เราจะต้องพูดแทน เสียงแต่ละแบบสามารถบ่งบอกถึงลักษณะของตัวละครและอารมณ์ของตัวละครเช่นกัน โดยสามารถแบ่งลักษณะงานออกได้ตามนี้

นักพากย์เสียง

  • การอ่านบทพากย์ ตามที่ได้รับมาก ต้องมีการแบ่งวรรคตอนที่ถูกต้อง การออกเสียงสูงต่ำ ต้องสามารถเข้าใจเนื้อหาของละครได้เป็นอย่างดี
  • ตรวจเช็คสภาพเครื่องที่ต้องใช้ในการอัดเสียง เพื่อไม่ให้เวลาที่ต้องอัดเสียงจริงเกิดปัญหา และทำให้การทำงานล่าช้ามากขึ้นไปเอง
  • ฝึกร่างกายให้พร้อม ต้องใช้พลังปอดเยอะ เพราะเสียงที่เราพากย์บางครั้ง ก็ไม่ใช่เสียงจริงๆ ของเราเสมอไป ต้องมีการดัดเสียง เพื่อให้เหมือนกับตัวละคร
  • สามารถอัดเสียงได้หลายรอบ เพราะบางครั้งเราก็ไม่สามารถทำให้เสียงที่เราพูดออกไป ผ่านได้ในครั้งเดียว สามารถพูดได้หลายๆ เสียง
  • นำเสียงที่เราได้อัดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งไปตัดต่อในวิดีโอต่อไป

คุณสมบัติของนักพากย์

นักพากย์เสียงญี่ปุ่น

  • “เสียง” ถือเป็นเครื่องมือหลักของนักพากย์ จะต้องมีน้ำเสียงที่หลากหลาย สามารถทำเสียงได้หลายเสียง
  • เข้าใจถึงการแสดงอารมณ์ผ่านทางเสียง เพื่อให้เข้าถึงตัวละครมากยิ่งขึ้น
  • สามารถเข้าใจเรื่องราวภายในเรื่อง ที่สำคัญ ต้องเข้าใจตัวละครที่เรากำลังพากย์อยู่ด้วย
  • ขยันฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา หากเรื่องนี้จบไป เรื่องใหม่ที่ต้องพากย์อาจจะใช้น้ำเสียงที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ
  • ความสามารถทางด้านภาษา ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่า เราจะพากย์แต่เสียงภาษาของเราเท่านั้น แต่หากสามารถพากย์ภาษาอื่นได้ ก็จะเป็นแต้มต่อให้กับตัวเราเอง
  • ทักษะการแสดง สิ่งที่เราแสดงออกมา ไม่ใช่การแสดงออกผ่านทางหน้าตาหรือท่าทาง แต่เป็นการแสดงออกผ่านทางน้ำเสียง

อยากเป็นนักพากย์ ต้องทำอย่างไรบ้าง

การที่จะเป็น ‘นักพากย์’ นั้น ไม่จำว่าต้องจำสายใดสายหนึ่งมาโดยเฉพาะ แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก แต่ถ้าต้องการศึกษาในสายที่สามารถทำให้เราได้ต่อยอดในสิ่งที่ต้องการได้ ก็ขอแนะนำให้เรียนต่อในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งเป็นสายที่มีความเกี่ยวข้องกับงานทางด้านนี้มากที่สุด ซึ่งมีมหาวิทยาลัยแนะนำ ดังนี้

เตรียมอัดเสียง

  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สาขานิเทศศาสตร์บูรณาการณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

เงินเดือนนักพากย์

พากย์เสียง

รายได้ของนักพากย์แต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถและความโดดเด่น หากใครที่สามารถพากย์ได้หลายเสียงและเป็นเสียงที่น่าสนใจ ก็จะได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้น หากคิดเป็นรายปี จะตรงอยู่ที่ 1,000,000 – 2,000,000 บาทกันเลยทีเดียว ถ้าได้ไปทำงานกับทางต่างประเทศ ก็อาจจะได้เงินเพิ่มขึ้นด้วย บางทีก็สามารถไปพากย์เสียงในงานโฆษณาได้ พากย์เสียงเพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถทำเงินรายได้หลักแสนแล้ว ถ้าใครมีประสบการณ์ทางด้านนี้มายาวนาน ก็จะยิ่งเป็นแต้มต่อให้กับเรา

อัดเสียง

สรุป

ถ้าอยากเป็น นักพากย์ ก็เตรียมปอด เตรียมเส้นเสียง กันเอาไว้ให้ดี เพราะงานนี้ เราต้องใช้การฝึกฝนเป็นอย่างมาก ถ้าอยากได้เงินเยอะๆ ก็ต้องขยันในการฝึกฝน พยายามทำเสียงให้ได้หลายๆ แบบ เพราะสถานที่ทำงานต่างต้องการคนที่สามารถทำเสียงได้หลายอย่างภายในคนเดียวกัน หากได้ไปทำงานที่ต่างประเทศแล้ว เราจะได้รายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สำหรับใครที่ชื่นชอบงานนี้ ก็เตรียมตัวเดินตามความฝันกันได้เลย

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก eLearning Industry

บทความแนะนำ

Author Image

Sunny

Happy Work Happy Life